รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ในภาวะการแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้, ไวรัสโคโรนา (COVID-19), กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ในภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2. เพื่อสร้างและประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ในภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างตอนที่ 1 คือสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 260 โรงเรียน ตอนที่ 2 สนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน ประเมินโดยใช้แบบสอบถาม แบบสอบถามทั้งสองตอน มีค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 α = 0.98 และ 0.95 ตามลำดับ และมีค่า r ระหว่าง 0.40 - 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีปัญหาในเรื่องการใช้สื่อการเรียนรู้ผ่านช่องทาง Social media มากที่สุด และมีความต้องการความช่วยเหลือเรื่องการใช้สื่อการเรียนรู้ผ่านช่องทาง Social media มากที่สุด2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ในภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยภารกิจหลัก 2 ด้าน 12 ประการ และ ภารกิจสนับสนุน 3 ด้าน 15 ประการ มีผลการประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรรณิการ์ แสนสุภา และคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 83-97.
จิรากานต์ อ่อนซาผิว และสุชาดา นันทะไชย. (2564). ปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 โรงเรียนวัดด่านสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 49-66.
เบญจวรรณ เรืองศรี และคณ. (2564). การจัดการเรียนการสอนในยุค New Normal Covid-19 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On Site. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(2), 29-45.
สริญญา มารศรี และประยูร แสงใส. 2563. วิธีสอนทางเลือกของครูสังคมศึกษาในยุคสถานการณ์โควิด 19. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 765-778.
สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2). 203-214.
Bayham, J. & Fenichel, E. P. (2020). Impact of school closures for COVID-19 on the US health-care workforce and net mortality: a modelling study. The Lancet Public Health, 5(5), 271-278.
Kedia, M. (2021). Singapore’s school management policy during COVID-19. Retrieved September 14, 2021, from https://www.orfonline.org/
OECD. (2020). A framework to guide an education response to the COVID-19 Pandemic of 2020. Retrieved May 23, 2020, from www.globaled.gse.harvard
The world bank. (2020). World Bank Education and COVID-19. Retrieved May 23, 2020, from https://www.worldbank.org/ /bankeducation-and-covid-19
Leithwood, K., et al. (2020). Seven Strong Claims about Successful School Leadership Revisited. School Leadership & Management, 40(4), 5-22.
UNESCO. (2020). COVID-19 Impact on Education. Retrieved May 24, 2020, from https://en.unesco.org/covid19/educationresponse
Viner, R. M., et al. (2020). School closure and management practices during coronavirus outbreaks including COVID-19: a rapid systematic review. The Lancet Child & Adolescent Health, 4(5), 397-404.
Wang, G., et al. (2020). Mitigate the effects of home confinement on children during the COVID-19 outbreak. The Lancet Public Health, 395(10228), 945–947.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น