สภาวะการถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทยช่วงสถานการณ์โควิด-19: สภาพการณ์ สาเหตุ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • บุญเลี้ยง ทุมทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การถดถอยทางการเรียนรู้, โควิด-19, ยุคปกติใหม่, ระบบการเรียนแบบเร่งรัด

บทคัดย่อ

การรับรู้ตนเองของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 เป็นสาเหตุเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ของตนเองในทิศทางที่มีแนวโน้มลดลง จากศึกษาลักษณะของภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่มีการถดถอยของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ มีการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย
มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย การบริหารจัดการและการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา ภาพรวมของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง การกำกับตนเองในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลทางตรงและโดยรวมต่อการรับรู้ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้นแนวทางการลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนคือ การสร้างแรงจูงใจ การตั้งเป้าหมาย และการกำกับตนเองของผู้เรียนระหว่างการจัดการเรียนการสอน ผู้ปกครองและครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักและรู้เท่าทันสื่อ รวมถึงการเฝ้าระวังและกำกับติดตามผู้เรียนอย่างใกล้ชิดในการเข้าถึงสื่อที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้หรือสื่อที่ไม่เหมาะสมที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ คุณลักษณะ และสุขภาพกายและใจของผู้เรียน โดยผู้ปกครองอาจมีส่วนร่วมในเรื่องของการวางแผนการเรียน กำกับติดตาม เตรียมความพร้อม ให้คำปรึกษา และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีการติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอนเพื่อสอบถามและติดตามการเรียนของผู้เรียน

References

ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2559). ครูแนะปรับวิธีสอน 3 ช่วงวัยอนุบาล-ประถม-มัธยม. สืบค้น 13 ธันวาคม 2564, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9590000003478

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบ COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. สืบค้น 14 ธันวาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/UkL8d

_____. (2565). เอฟเฟกต์โควิดเขย่าการศึกษา เพิ่มแรงถดถอยการเรียนรู้. สืบค้น 13 มกราคม 2565, จาก https://www.eef.or.th/article-effects-of-covid-19/

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New normal. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

_____. (2564). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนร็สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

_____. (2565). การศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 : สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Asian Development Bank. (2021). Learning and earning losses from COVID-19 school closures in developing Asia. Retrieved March 22, 2020, from https://shorturl.asia/qC904

Azim Premji Foundation. (2021). Loss of learning during the pandemic. India: Azim Premji University.

Blaskó, Z. et al. (2021). Learning loss and educational inequalities in Europe: mapping the potential consequences of the COVID- 19 Crisis, Discussion paper series. Bonn, Germany: Deutsche Post Foundation.

Cardinal, J. (2020). Lost Learning: What does the research really say?. Geneva, Switzerland: International Baccalaureate Organization.

Cho, Y. et al. (2021). Philippine basic education system: strengthening effective learning during the COVID-19 pandemic and beyond. Retrieved March 20, 2022, from ttps://shorturl.asia/CblJ9

DiPietro, G. et al. (2020). The likely impact of COVID-19 on education: Reflections based on the existing literature and international datasets. Luxembourg: Publications Office of the European Union.

Fitzpatrick, R. et al. (2020). An international review of plans and actions for school reopening. Berkshire: Education Development Trust.

Great Schools Partnership. (2021). Learning Loss. Retrieved March 20, 2022, from https://shorturl.asia/mGgSs

Kaffenberger, M. (2021). Modelling the long-run learning impact of the COVID-19 learning shock: actions to (more than) mitigate loss. International Journal of Educational Development, 81(1), 1-21.

Kuhfeld, M. et al. (2020). Projecting the potential impact of COVID-19 school closures on academic achievement. Educational Researcher, 49(8), 549-565.

Locke, N. V. et al. (2021). Learning loss in reading and math in U.S. schools due to the COVID-19 pandemic. USA: Southern Methodist University.

Noam et al. (2021). Building back better to avert a learning catastrophe: Estimating learning loss from COVID-19 school shutdowns in Africa and facilitating short-term and long-term learning recovery. International Journal of Educational Development, 84(1), 1-14.

Raymond, M. E. (2021). Learning Losses-What to Do about Them. Hoover Institution: Stanford University.

Salciccioli, M. (2021). Understanding and addressing disruptions to learning during the COVID-19 pandemic. Retrieved March 20, 2022, from https://shorturl.asia/fTWn4

U.S. Department of Education, Office for Civil Rights. (2021). Education in a pandemic: the disparate impacts of COVID-19 on America’s students. Washington: U.S. Department of Education.

Zierer, K. (2021). Effects of pandemic-related school closures on pupils’ performance and learning in selected countries: a rapid review. Education Sciences, 11(6), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01