ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ SV ONLINE ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การเรียนรู้ออนไลน์, ไวรัสโคโรน่า2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ SV Online ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ SV Online ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยจำแนกตาม เพศ ชั้นเรียน และเศรษฐานะของผู้ปกครอง ประชากรในการวิจัยได้แก่ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนแสงวิทยาจำนวน 305 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 171 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่าความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และค่าความแตกต่างของ Scheffe'
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ SV Online ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเทคโนโลยี รองลงมา คือ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านสถานที่และเวลา ส่วนด้านผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ SV Online ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จำแนกตามเพศและชั้นเรียนไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามเศรษฐานะของผู้ปกครองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กนกวรรณ มณีฉาย และแสงดาว ประสิทธิสุข (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) ของพนักงานธนาคารออมสิน เขตสุราษฏร์ธานี (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พัทธโรจน์ กมลโรจน์สิริ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โรงเรียนแสงวิทยา. (2564). SV On-Learn V1-V4. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.svschool6395.com/sv-on-learn/sv-on-learn-v1-v4.
วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา. (2564). เพราะการศึกษาหยุดไม่ได้ ต่างประเทศเรียนกันอย่างไรในช่วงโควิด-19. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.eef.or.th/education-abroad-covid.
วรากร สามโกเศศ. (2564). การศึกษา: เรียนออนไลน์ทำพิษ คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาเร่งจัดการสอนที่โรงเรียน ประชาชาติ. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://www.prachachat.net /education/news-773403.
วิทัศน์ ฝักเจริญผล. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ ระบาดไวรัส Covid- 19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44-61.
ศุภเสฏฐ์ คณากูล. (2564). การศึกษา: นักวิชาการ-ร.ร.เอกชน จี้ปรับรูปแบบ หลังพบเด็กลาออก-ออกกลางคันพุ่ง เปิดทาง น.ศ.หยุดเรียน-คืนค่าเทอม. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://www.matichon.co.th/education/news_2877911.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid19). สืบค้น 2 ตุลาคม 2564, จาก http://www.ccs1.go.th/
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2564). การศึกษา: การศึกษาไทยเรียนแบบผสมผสานได้ผลสูงสุด. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2211052.
สุวนันท์ ช่วยราชการ และคณะ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Ng, J., Lei, L., Iseli-Chan, N., Li, J., Siu, F., Chu, S., & Hu, X. (2020). Non-repository Uses of Learning Management System through Mobile Access. Journal of Educational Technology Development and Exchange (JETDE), 13(1), 1-15.
Nishan, F., & Mohamed, A. (2021). Emerging stronger: Policy directions for COVID-19 and beyond for public schools in the Maldives. Fulbright Review of Economics and Policy.
Wu, Y. C., Hsieh, L. F., & Lu, J. J. (2015). What's the relationship between learning satisfaction and continuing learning intention?. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 191, 2849-2854.
Yang, A. (2020). OREO Online Learning Guidelines. Retrieved November 22, 2021, from https://alisonyang.com/oreo-online-learning-guidelines/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น