การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เมืองของไทย และต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ ขำเพชร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, นวัตกรรม, คลองเตย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเตยกับผู้สูงอายุในต่างประเทศ และเพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมด้านการสร้างที่พักอาศัยในเมือง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการศึกษา การเก็บข้อมูลจากเอกสาร ในเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเก็บข้อมูลการลงพื้นที่ภาคสนาม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้สูงอายุในชุมชน พื้นที่ศึกษาพื้นที่เมืองคือชุมชนคลองเตย ล็อค 19-22

ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนคลองเตยเป็นตำนานของชุมชนแออัดของประเทศไทย ความเป็นมาของชุมชนแห่งนี้กับการก่อสร้างท่าเรือ จากการเวนคืนที่ดินตำบลคลองเตยและบางจาก เพื่อใช้ในกิจการขนส่งทางเรือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 และต่อมาได้ยกระดับเป็นการท่าเรือแห่งประเทศไทย การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเตย ล็อค 19-22 ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนแฟลตในห้องของตน และมาร่วมกิจกรรมส่วนรวมเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น การศึกษาลักษณะการใช้ชีวิตโดยใช้นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่คลองเตยหากเทียบกับลักษณะการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุที่อาศัยในเมืองของต่างประเทศ พบว่ามีนวัตกรรมที่ช่วยในการใช้ชีวิตได้มากกว่าได้แก่ที่พักอาศัย และเครื่องมือที่ช่วยการสัญจรให้สะดวกขึ้น แต่ความเป็นชุมชนคลองเตยที่ยังคงมีทุนชุมชนเป็นรากฐานสืบเนื่องถึงปัจจุบัน

 

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์. (2555). มโนทัศน์ใหม่ของ “นิยามผู้สูงอายุ” และ “อายุเกษียณ” : ทำไมต้อง 60 ปี เปลี่ยนได้หรือไม่. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2514). การสำรวจวิจัยทางสังคมสงเคราะห์บริเวณเเหล่งเสื่อมโทรมคลองเตย จังหวัดพระนคร. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) (2559).

สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2559. นครปฐม: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

วิราภรณ์ โพธิศิริ และคณะ. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาต้นแบบของการบูรณาการระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มผู้สูงอายที่มีภาวะพึ่งพิง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส้มฉุน มะลิกุล. (2562). ชราแลนด์ บ้านพักคนชราที่พลิกทุกสิ่งอำนวยความสะดวกยกขึ้นเป็นแนวดิ่งทางเลืออกใหม่ของชาวสิงคโปร์วัยเกษียณที่ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://readthecloud.co/kampung-admiralty-retirement-village-singapore/

สโรชพันธุ์ สุภาวรรณ์. (2559). ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันกับการต่อรองอัตลักษณ์ของผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 42(2), 34-58.

สันต์ ใจยอดศิลป์. (2558). เล่าความคืบหน้า Senior Co-Housing. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://visitdrsant.blogspot.com/2015/01/senior-co-housing.html

สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2553). บทบรรณาธิการ: การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์เพื่อการวิจัยผู้สูงอายุ ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และสวรัย บุณยมานนท์ (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม 2553: คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

อรทัย ก๊กผล. (2559). Urbanization: เมื่อ "เมือง" กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Rogers, E. M. (1962). Diffusion of innovations. New York: Free Press of Glencoe.

Tiffany N.G. (2017). Policy measures to promote smart elderly care services in selected places. Hongkong: Research Office Information Services Division Legislative Council Secretaria.

Wai Chiong Loke. (2017). The future of healthcare for Singapore's ageing population. Retrieved February 25, 2022,from https://sbr.com.sg/healthcare/commentary/future-healthcare/singap ores-ageing-population.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

ขำเพชร จ. (2022). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เมืองของไทย และต่างประเทศ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 15–26. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/258796