ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงินที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงาน จากที่ใดก็ได้กรณีศึกษาฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • สิรีมนต์ ปัญญาวุธ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • วาสิตา บุญสาธร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงิน, ความมุ่งมั่นพลังขับเคลื่อนในการทำงาน, การทำงานจากที่ใดก็ได้, ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงินที่ส่งผลต่อระดับความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานจากที่ใดก็ได้ (Work from anywhere) โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลจากพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งจำนวน 155 คน นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ Multivariate Linear Model

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ไม่ใช่ตัวเงินที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานจากที่ใดก็ได้ (Work from anywhere) ได้แก่ 1. การเจริญเติบโตในงาน 2. ความคาดหวังต่อผลการปฏิบัติงาน 3. การทำงานที่มีคุณค่า 4. ความสมดุลของงานที่ได้รับมอบหมาย 5. ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน และ 6. ความผูกพันกับหัวหน้า ซึ่งส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในการทำงานจากที่ใดก็ได้โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

โชติรส ดำรงศานติ. (2554). การให้สิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินและกลยุทธ์การสื่อสารของผู้นำที่มีผลต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของคนเก่ง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ และปิยะวัฒน์ เจริญศักดิ์. (2565). โควิด-19 และแรงงานไทย: สถานการณ์เชิงโครงสร้างและความเปราะบาง. การสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ครบรอบ 68 ปี ทางเลือกและทางรอด: การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พชร ใจอารีย์ และประสพชัย พสุนนท์.(2564). การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างความรักและพลังขับเคลื่อนองค์กรกับประสิทธิภาพในการทำงานของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศรีปทุม, 17(4), 58-68.

วาสิตา บุญสาธร. (2556). การสร้างความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 307-355.

สุพิชญา วงศ์วาสนา. (2564). ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการ ทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสารกรณีศึกษา บริษัทบางกอกไฟลท์เซอร์วิส เซส จำกัด (BFS). วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 15-30.

Chakraborty, I. & Maity, P. (2020). COVID-19 outbreak migration, effects on society, global environment, and prevention. Science Total Environment, 728(1), 1-7.

Dewhurst, M. et al. (2009) Motivating People: Getting beyond Money. Retrieved February 10, 2022, from https://shorturl.asia/ieEky

Hardgrove, M. E. & Howard, A. P. (2015). Passion Thrillers and Passion Killers: How to Support and How to Thwart Employee Passion. Journal of Business & Economic Policy, 2(1), 16-22.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Luo et al. (2014). Factors influencing the work passion of Chinese community health service workers: An investigation in five provinces. BMC family practice, 15(1). 1-9.

Salessi et al. (2017). Conceptual considerations of work passion. Ciencias Psicológicas, 11, 165-178.

Sheppard, B. et al. (2020). Adapting to a new world. Retrieved February 10, 2022, from https://shorturl.asia/X6RAn

Zigarmi et al. (2009). Beyond Engagement: Toward a Framework and Operational Definition for Employee Work Passion. Human Resource Development Review, 8, 300-326.

_____. (2020). What’s important in creating a motivating work environment and whose job is it?. Retrieved February 10, 2022, from https://shorturl.asia/NDXCd

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01