การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทย สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัตนา ตฤษณารังสี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริมคุณภาพชีวิต, พุทธธรรมาภิบาล, แรงงาน SME ไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ปัจจัยที่ส่งผล และนำเสนอการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี

         ผลการวิจัยพบว่า สภาพการส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ปัจจัยการบริหารจัดการตามกระบวนการ PDCA และปัจจัยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานตามหลักภาวนา 4 มีอิทธิพลร่วมกันต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย ที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 83.40 การส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการให้สิ่งตอบแทนเพียงพอและยุติธรรม แรงงานได้รับค่าตอบแทนและประโยชน์เพียงพอ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ สถานประกอบการมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยได้ตามมาตรฐาน ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน แรงงานมีความก้าวหน้าทั้งค่าตอบแทนและตำแหน่ง ด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของตน แรงงานได้รับโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือทำงานร่วมกัน มีการยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านประชาธิปไตยในองค์กร มีความเสมอภาคและเป็นธรรมในองค์กร ด้านความสมดุลระหว่างหน่วยงานกับชีวิตส่วนตัว แรงงานมีเวลาทำงานและใช้ชีวิตสมดุลกัน และด้านความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีโครงการและกิจกรรมเพื่อสังคม

References

กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2545, 25 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 93 ก. หน้า 17.

จิราพร ทินบุตร และคณะ. (2563). การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตและสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จํากัด อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 169-180.

ดวงกมล คนโทเงิน. (2556). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง (ดุษฎีนิพนธ์บัณฑิต สาขาประชากรศาสตร์).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2558). การใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(2), 68-78.

นัฐพล บุญสอน. (2565). ภาวนาธรรม: หลักธรรมสําหรับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 220-231.

พระครูใบฎีกาสอาด ปญฺาทีโป (ดิษฐสวรรค์). (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบรรณ์ ปญฺญาธโร. (2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามลักษณะทางพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(2), 183-191.

พระมหาวิศิต ธีรว์โส. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชสิทธิเวที (วิรัช วิโรจโน). (2562). การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 15-27.

รมณีย์ วงษา. (2559). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของพนักงานส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(1), 288-303.

วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ. (2557). มุมมองเศรษฐกิจไทย : ไม่เป็นทางการ. วารสารวิทยาการจัดการ, 1(1), 17-38.

วิชนี คุปตะวาทิน และ ศุภกานต มังกรสุรกาล. (2561). ธรรมาภิบาลของไทยเป็นจริงได้หรือ. วารสารวิชาการ สถาบันเทนโคโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 1-7.

วินัย ศรีสะอาด และคณะ. (2561). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในประเทศแถบอาเซียน. วารสารกรมการแพทย์, 43(1), 145-153.

วีระ เภียบ. (2560). สถานการณ์และความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ในเขตจังหวัดสระแก้ว. วารสาร Veridian E-Journal, 10(2), 191-192.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร. (2562). รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สนิท สัตโยภาส. (2559). แรงงานต่างด้าวกับความมั่นคงทางสังคม. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 193-207.

สมจิตรา กิตติมานนท์. (2553). การบริโภคอาหารเจเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางไตรสิกขา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). จำนวนและการจ้างงานวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สุชน ทิพย์ทิพากร. (2558). แนวทางการปรับตัวของการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน : กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม. Veridian E Journal, 8(2), 2271-2289

สุนทรี สุริยะรังสี. (2559). หลักสุขบัญญัติไทยสมัยใหม่กับกับหลักการพัฒนาตามแนวคิดไตรสิกขา. วารสารธรรมทรรศน์, 16(2), 264-281.

สุมณฑา สุภาวิมล. (2565). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(2), 104-112.

สุวรีย์ สิริโภคาภิรมณ์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

อรวรรณ เจริญรัตน์. (2557). ความคิดเห็นของนักงานเทศบาลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 3(1), 83-111.

อาจินต์ สงทับ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสาร EAU HERITAGE, 11(2), 191-206.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

ตฤษณารังสี ร., & สุขเหลือง เ. (2023). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทย สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(3), 386–400. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/258518