ความเมตตากรุณาในนิทานไทยเรื่อง ด้วยรักบันดาล นิทานสีขาว พ.ศ 2550-2551 และ นิทานเมียนมาเรื่อง Khint Thit Pone Pyin พ.ศ 2550-2553: กลวิธีการเล่าเรื่องและแนวคิดเชิงสังคม

ผู้แต่ง

  • เต๊ ซุ มอญ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุมารินทร์ ตุลารักษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเมตตากรุณา, แนวคิดเชิงสังคม, กลวิธีการเล่าเรื่อง, นิทานไทย, นิทานเมียนมา

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาความเมตตากรุณาและแนวคิดเชิงสังคม และ 2. เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่อง โดยใช้ข้อมูลนิทานไทยเรื่อง ด้วยรักบันดาล นิทานสีขาว ของ อาจองชุมสาย ณ อยุธยา พ.ศ 2550-2551 และนิทานเมียนมาเรื่อง Khint Thit Pone Pyin ของ Kaung Thant พ.ศ 2550-2553 โดยใช้แนวคิดความเมตตากรุณาและกลวิธีการเล่าเรื่อง

ผลการศึกษาทั้งนิทานไทยและเมียนมาพบความเมตตากรุณาที่มนุษย์มีต่อมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ และสัตว์กับสัตว์ ส่วนแนวคิดเชิงสังคมคือ การให้ความสำคัญของครอบครัวและญาติพี่น้อง การเป็นผู้มีอำนาจที่ปกครองด้วยคุณธรรมจริยธรรม และคนที่มีเมตตากรุณาจะได้รับผลดี ส่วนกลวิธีการเล่าเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องแสดงให้เห็นแนวคิดสำคัญของเรื่อง แก่นเรื่องคือ ความเมตตากรุณาจะนำพาความสงบสุขมาให้ และเหมาะสมกับทุกชนชั้น ในด้านตัวละครทั้งไทยและเมียนมานิยมใช้การสร้างตัวละครตามอุดมคติ ส่วนนิทาน เมียนมาพบการสร้างตัวละครแบบสมจริง บทสนทนาของนิทานไทยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดลักษณะนิสัยของตัวละคร

References

กรรณิกา ศรีเจริญ. (2525). วิเคราะห์คุณธรรมในหนังสือการ์ตูนเล่มละบาท. บรรณศาสตร์, 5(2), 40-66.

กฤษตยา ณ หนองคาย. (2544). การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นที่ได้รับรางวัล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2542 (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาภาษาไทย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). วรรณกรรมจากบ้านใน. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู.

จุฑามาศ สุขขำจรูญ. (2549). การวิเคราะห์วรรณกรรมสำหรับเด็กของ ส. พุ่มสุวรรณ (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉันทนา เย็นนาน. (2539). การศึกษาวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านภาคกลาง. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิม มากนวล (2518). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบนิทานชาดกกับนนิทานอีสป. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). ด้วยรักบันดาล...นิทานสีขาว (เล่ม 1). กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์.

_____. (2550). ด้วยรักบันดาล...นิทานสีขาว (เล่ม 2). กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์.

_____. (2551). ด้วยรักบันดาล....นิทานสีขาว (เล่ม 3). กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์.

_____. (2551). ด้วยรักบันดาล....นิทานสีขาว (เล่ม 4). กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์.

ธนัญชย์ ชัยวุฒิมากร และบุปผา บุญทิพย์. (2559). แนวคิดคุณธรรมในนิทานสมัยใหม่:ด้วยรัก บันดาล...นิทานสีขาว ของอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(2), 149-166.

มัทนา ขุนศรี และคณะ. (2564). นิทานพื้นบ้านไทยและเมียนมา: การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องและกฎเกณฑ์นิทานพื้นบ้านของเอกเซลโอลริค. พิฆเนศวร์สาร, 17(1), 28-36.

วราคม ทีสุกะ. (2528). ความคิดทางสังคมและทฤษฎีทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.

Kaung Thant. (2550). Khint Thit Pone Pyin (เล่ม 1). Yangon: Kaung Thant Sapay.

_____. (2551). Khint Thit Pone Pyin (เล่ม 2). Yangon: Kaung Thant Sapay.

_____. (2552). Khint Thit Pone Pyin (เล่ม 3). Yangon: Kaung Thant Sapay.

_____. (2553). Khint Thit Pone Pyin (เล่ม 4). Yangon: Kaung Thant Sapay.

_____. (2553). Khint Thit Pone Pyin (เล่ม 5). Yangon: Kaung Thant Sapay.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24