ความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
คาสาคัญ : ความคิดเห็นทางการเมือง, สังคมพหุวัฒนธรรม, สังคหวัตถุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรม 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ 3. ศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่ามากที่สุด คือ ด้านความคิดเห็นทางการเมือง มีค่าเฉลี่ย 3.98 (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นทางการเมือง ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นทางการเมืองโดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นประชาชนที่มีเพศต่างกัน ที่ปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ (3) ข้อเสนอแนะด้านความคิดเห็นทางการเมือง ควรติดตามข่าวโดยการใช้วิจารณญาณด้านการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย สื่อควรมีการนำเสนอข่าวการเลือกตั้งที่สร้างสรรค์ ด้านพหุวัฒนธรรม ให้ความรู้แก่ประชาชนในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ด้านหลักพุทธธรรม ให้คำแนะนำผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้เสนอตนแสดงความรู้ความสามารถ และ ด้านบริบทเรื่องที่วิจัย รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ข้อมูลหรือทำความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน
References
กฤติธี ศรีเกตุ. (2561). การวิเคราะห์การเมืองตามแนวคิดพหุวัฒนธรรม หน่วยที่ 12 ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์การเมือง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
สุไรยา วานิ. (2557). การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารการเมืองการปกครอง ประเด็นปัญหาปัจจุบันในอาเซียน, 4(1), 204-219.
พระครูสังฆรักษ์วัชริศ (อุตฺตมสีโล สมยงค์). (2560). ศึกษาวิเคราะห์การบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณัฐพล กิตฺติปญฺโญ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาธนวิชญ์ ญาณธีโร. (2560). การอยู่ร่วมกันของชุมชนพหุวัฒนธรรมตามหลักสาราณียธรรม 6 : ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม และชุมชนมัสยิดต้นสน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสำราญ นนทพุทธิ. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุรพล สุยะพรหม. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริจิต สุนันต๊ะ. (2563). สถานการณ์โต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(1), 6.
ประดิษฐ์ ชินอุดมทรัพย์. (2564). มิติทางสังคมและวัฒนธรรมกับการท้าทายประชาธิปไตย.สืบค้น 10 กันยายน 2564, จากhttps://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci
Bennett David. (1998). Multicultural States Rethinking Difference and Identity. London: Routledge.
Mitchell. M.B., & Salsbury. E.R.. (1999). Encyclopedia of multicultural education. British: Greenwood.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น