ฉากทัศน์ธุรกิจบริการโลกและประเทศไทยกับกลยุทธ์การขับเคลื่อนของภาคธุรกิจ
คำสำคัญ:
ธุรกิจบริการ, ภาคการค้าปลีก, ภาคการท่องเที่ยว, ภาคบริการสุขภาพบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องฉากทัศน์ธุรกิจบริการโลกและประเทศไทยกับกลยุทธ์การขับเคลื่อนของภาคธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.ความสำคัญของธุรกิจบริการต่อระบบเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย 2.ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจบริการโลก 3.ธุรกิจบริการที่มีความสำคัญในประเทศไทย 4.สังเคราะห์กลยุทธ์การขับเคลื่อนภาคธุรกิจบริการไทย โดยจากการศึกษาพบว่า ระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับโลก และประเทศไทยนั้น ถูกขับเคลื่อนให้มีการเติบโตโดยธุรกิจบริการ เนื่องจากธุรกิจบริการนั้นเป็นภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนของดัชนีมวลรวมสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกันภาคธุรกิจอื่นๆ ส่งผลให้มีการจ้างงานสูงตามมาด้วย ดังนั้นธุรกิจบริการจึงเปรียบเสมือนเฟืองตัวใหญ่ในระบบเศรษฐกิจที่จะขับเคลื่อนให้เกิดรายได้ และการจ้างงานของประเทศ โดยธุรกิจบริการที่มีความสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจบริการประเภทการค้าปลีก การท่องเที่ยว และการบริการสุขภาพ ซึ่งกลยุทธ์การขับเคลื่อนของภาคธุรกิจค้าปลีกที่สำคัญคือ การเร่งขยายการค้าผ่านทางออนไลน์และการค้าข้ามพรหมแดนรวมถึงการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการช้อปปิ้ง ภาคธุรกิจท่องเที่ยว ควรเร่งสร้างภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย และการจัดรายการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นความต้องการท่องเที่ยว ภาคบริการสุขภาพ ควรเร่งบูรณาการภาคบริการสุขภาพเข้ากับภาคบริการอื่น เพื่อให้ได้รับความสะดวกครบวงจร อำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศด้วยระบบ green lane
References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2014). การลดอุปสรรคทางการค้าบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.
รัชดา เจียสกุล. (2560). ธุรกิจบริการ: ทางรอดประเทศไทย 4.0. เศรษฐกิจในประเทศ. กรุงเทพฯ: โบลิเกอร์ แอนด์ คอม พานี (ประเทศไทย).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2018). ภาคบริการไทยเปลี่ยนให้ปังปรับให้โดน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2018). ภาคบริการไทยในปี 2018. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย. (2562). จับชีพจรนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2562. กรุงเทพฯ: ธนาคารสิกรไทย.
Bank of Thailand. (2020). Thailand’s key Macroeconomic chart pack. Bangkok: Bank of Thailand.
BOI. (2019). The Future of Medicine a Healthy outlook for Investors. Thailand Investment Review. 29(1). 1-12.
____. (2020). Opportunities and Investment Support Measures for Medical Industries in Thailand. Bangkok: The Board of Investment Office.
Bureau of Economic Analysis. (2017). 2017 GDP and Employment by Industry. The United State of America: Tax Foundation.
Deloitte. (2017). Global Power of Retailing 2017. The art and science of customers. United Kingdom: Deloitte Touche Tohmatsu Limited.
International Labour Organization. (2019). OECD Employment rate in the second quarter of 2019. Paris: International Labour Organization.
Krungsri Research. (2020). 2020-2022 Thailand Industry Outlook. Bangkok: Bank of Ayudhaya.
Lovelock, C. et al. (2016). Services Marketing. United Kingdom: Edingurnh Business School.
World Bank. (2017). World’s service industry. Paris: OECD.
SCB Economic Intelligence Center. (2016). Insight Thai Tourism: Sustainability Success. Bangkok: Siam Commercial Bank.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น