รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา, ทักษะในศตวรรษที่ 21, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นการวิจัยรูปแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบดังนี้ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ วิธีการดำเนินการของรูปแบบ แนวทางการประเมินผลรูปแบบ และ เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ 3) ผลการใช้รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
เชษฐพงศ์ สุขปาน. (2557). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก(วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
ดวงใจ ไชยลังการ. (2558). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 (การศึกษาอิสระครุศาสตรหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการเรียนรู้เชิง ผลิตภาพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 185-186.
รุ่งนภา แก้วกองมา. (2558). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านสันต้นหมื้อ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วิทยา เกศาอาจ. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุฎีบัณฑิต การวิจัยและประเมินทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิลาสินี กนกไกรทรัพย์. (2558). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
สุทธิศักดิ์ นันทวิทย์ และสจีวรรณ ทรรพวสุ (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(1), 214-226.
สุภารัตน์ วีรวัฒนา. (2557). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรเชษฐ์ จิตตะวิกูล. (2542). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.
Ghufron, A. et al. (2019). Curriculum Management in Yogyakarta’s Elementary Schools: Case Study in Designing Curriculum. International Conference on Meaningful Education. KnE Social Sciences. 183.
Kurangi, B. K. et al. (2017). Education Methodology: Curriculum Management. WORLD JOURNAL OF PHARMACY AND PHARMACEUTICAL SCIENCES, 6(2), 1385.
Luterbach, K. L. & Brown, C. (2011). Education for the 21st century International. Journal of applied Educational Studies, 11(1), 14-32.
Purwadhi, P. (2019). Curriculum Management in the 21st Century Learning. Jurnal Pendidikan Sains Sosial dan Kemanusiaan, 12(1), 143-165.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น