การพัฒนาประสิทธิผลของธุรกิจแปรรูปผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • วารีญา ม่วงเกลี้ยง มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
  • จินต์ วิภาตะกลัศ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
  • กฤษณะ ดาราเรือง มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ประสิทธิผล, ธุรกิจแปรรูปผลไม้

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถทางนวัตกรรม และประสิทธิผลธุรกิจแปรรูปผลไม้จันทบุรี 2. วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลธุรกิจแปรรูปผลไม้ 3. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลธุรกิจแปรรูปผลไม้ และ 4. ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลธุรกิจแปรรูปผลไม้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการและบุคลากรของสถานประกอบการแปรรูปผลไม้ในจังหวัดจันบุรี จำนวน 970 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ อยู่ในระดับสูง ส่วนความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถทางนวัตกรรม และประสิทธิผล อยู่ในระดับต่ำ 2. องค์ประกอบเชิงยืนยันตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง มีค่า Chi-square = 116.05, df = 115, p-value = 0.4549, RMSEA = 0.009 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ > 0.50 ทุกตัวแปร และ 3. ประสิทธิผลธุรกิจแปรรูปผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี ได้รับได้รับอิทธิพลทางตรงมาจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ อยู่ในระดับต่ำ (DE = 0.20) ปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับปานกลาง (DE = 0.76) และในขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ในระดับปานกลาง (IE = 0.63) และปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ ในระดับปานกลาง (IE = 0.69) โดยส่งผ่านปัจจัยด้านความสามารถทางนวัตกรรม โดยปัจจัยทั้งหมดดังกล่าว สามารถทำนายตัวแปรตามคือ ประสิทธิผลธุรกิจแปรรูปผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี ได้ร้อยละ 89 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 4. นำเสนอแนวทางการเพื่อพัฒนาประสิทธิผลธุรกิจแปรรูปผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี

References

ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล และคณิดา ไกรสันติ. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลานไทร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์. (2559). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. วารสาร Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 967-988.

วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ และปัททมา สุริยกุล ณ อยุธยา. (2561). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุด้านภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงาน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แปรรูปอาหารจังหวัดนครพนม. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสมา, 12(2), 101-117.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). นวัตกรรมและเทคโนโลยี. สืบค้น 25 มิถุนายน 2562, จาก https://www.kasikornbank.com.

ฝนทิพย์ ฆารไสว. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจโรงแรม ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 39-50.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย. สืบค้น 25 มิถุนายน 2562, จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2556 และแนวโน้มปี 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

Allen, K.R. (2006). Launching New Ventures: An Entrepreneurial Approaching. (4th ed.). Boston: Houghton Mifflin.

Andriopoulos, C. & Lowe, A. (2000). Enhancing organisational creativity: the process ofperpetual challenging. Management Decision, 38(10), 734 – 742.

Chen, X. Y., et al., (2010). Using the balanced scorecard to measure Chinese and Japanese hospital. performance at Retrieved June 15, 2021, from www.emeraldinsignt.com.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated, London: Sage Publications.

Ferreira, J. and Azevedo, S. (2007). Entrepreneurial Orientation as a main Resource and Capability on Small Firm’s Growth. Retrieved May 2, 2019, from http://mpra.ub.uni-muenchen.de/5682/MPRA.

Guilford, J.P. and Hoepfner, R. (1971). The analysis of Intelligence. New York: McGraw-Hill Book Company.

Hatten, T.S. (2006). Small Business Management: Entrepreneurship and Beyond. (3rded.). Boston, MA: Houghton Mifflin.

Hitt, M.A. et al., (1997). International diversification: Effects on innovation and firm performance in product-diversified firms. Academy of Management Journal, 40(4), 767-798.

Hooper, D., et al., (2008). Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.

Kaplan, R.S., and Norton, D. P. (1992). “The balanced scorecard-measures that drive performance.” Harvard Business Review, 83(7-8), 172-180.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lim Seongbae. (2009). Entrepreneurial Orientation and The Performance of Service Business. Retrieved March 7, 2009, from www.decisionsciences.org/Proceedings/ DSI2008/docs/392-9586.pdf

McGregor, D. (2007). Developing Thinking; Developing Learning: A Guide to Thinking Skills in Education. New York: Open University Press.

Morris, M.H. and Kuratko, D. F. (2002). Corporate Entrepreneurship, Mason, OH: South-Western College Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

ม่วงเกลี้ยง ว. ., วิภาตะกลัศ จ., & ดาราเรือง ก. (2023). การพัฒนาประสิทธิผลของธุรกิจแปรรูปผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(3), 317–330. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/257322