กระบวนการสื่อสารในการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่น
คำสำคัญ:
กระบวนการสื่อสาร, การหาเสียงเลือกตั้ง, นักการเมืองท้องถิ่นบทคัดย่อ
กระบวนการในการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่น เป็นการสื่อสารทางการเมืองระหว่างกลุ่มนักการเมืองกับผู้รับสาร โดยมีการประชาสัมพันธ์ทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูลจากฝ่ายการเมืองไปยังประชาชนผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารในการหาเสียงเลือกตั้งนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้กระบวนการสื่อสารในการหาเสียง เพื่อสร้างการรับรู้ และเกิดความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร จนเกิดการปฏิบัติ (KAP) โดยกระบวนการสื่อสารในการหาเสียงเลือกตั้งประกอบด้วย การวิจัย การตั้งเป้าหมาย การกำหนดเป้าหมายผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การพัฒนาข้อความแคมเปญ การพัฒนาแผนการติดต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและทำให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการตั้งแต่การประเมินหรือการวิเคราะห์ข้อมูลตามความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งท้องถิ่น การกำหนดสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ได้รับชัยชนะ และการบูรณาการข้อมูลทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกันเพื่อกำหนดและพัฒนาแคมเปญเลือกตั้ง อีกทั้งยังต้องมีการพัฒนาแผนการติดต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะต้องใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเลือกรับสาร นอกจากนี้ยังต้องทำให้มันเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการให้สมบูรณ์ โดยมีการพบปะ การชักชวนผู้คน และการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้อย่างเคร่งครัด ระมัดระวัง จริงใจ และตรงไปตรงมากับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งท้องถิ่นตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในท้ายที่สุด
References
นันทนา นันทวโรภาส. (2562). การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560: ศึกษากรณีการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 24 มีนาคม 2562. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 274-288.
พัชรีภรณ์ ยุทธนาพงศ์กิตติ. (2563). การศึกษากลวิธีการโน้มน้าวใจจากข้อความบนป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี (ออนไลน์), 1(1), 61-75.
สิทธิพงษ์ เกตุประยูร. (2559). กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา :ศึกษากรณีการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2556 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก, น.1-341.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2541). การสื่อสารกับการเมือง พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พริ้นติ้ง.
Abubakar, H., et al. (2020). Effect Of Negative Campaign Strategy of Election Algorithm in Solving Optimization Problem. Journal of Quality Measurement and Analysis JQMA, 16(2), 171-181.
Bene, M., et al. (2021). Same Strategy, but Different Content. Hungarian Parties’ Facebook Campaign During the 2019 EP Election. In Campaigning on Facebook in the 2019 European Parliament Election. Palgrave Macmillan, Cham,
De Sio, L., & Weber, T. (2020). Issue yield, campaign communication, and electoral performance: a six-country comparative analysis. West European Politics, 43(3), 720-745.
Hendricks, J. A., & Schill, D. (2017). The social media election of 2016. The 2016 US presidential campaign.
Newman, B. J., Shah, S., & Collingwood, L. (2018). Race, place, and building a base: Latinopopulation growth and the nascent Trump campaign for president. Public Opinion Quarterly, 82(1), pp. 122-134.
O'Day, J. B. (2003). Political Campaign Planning Manual. A Step by Step Guide to Winning Elections. National Democratic Institute for International Affairs, 6(3), 217–223.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น