การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาวในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ภัทระ อินทรกำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาวในจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาว ด้วยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิและรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิในพื้นที่ โดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาว ในจังหวัดสุรินทร์ มีศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมีแหล่งโบราณสถาน ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน และสามารถเดินทางเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก ด้านวิถีชีวิตดั้งเดิม มีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีการแสดงออกถึงความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง อย่างชัดเจน ด้านภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมพื้นบ้าน ด้านสิ่งแวดล้อม มีป่าบุ่งทามและแม่น้ำมูล ที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติของคนและสัตว์เลี้ยง แนวทางทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ดำเนินกิจกรรมสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์คุณค่าภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การนำภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาใช้ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน

References

กชธมน วงศ์คำ. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำจังหวัด มหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2541). การศึกษาทบทวนแผนพัฒนาการท่องเที่ยว ภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา.

ดารณี บุญธรรม และคณะ. (2544). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมโดยชุมชนชาวม้งบ้านน้ำคะสานก๋วย ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พรหมภัสสร ชุณหบุญญทิพย์. (2560). การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำหนองไชยวาน บ้านดอนแดง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, (13)2, 47-61.

พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). รายงานการวิจัยการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา หมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

มานิตย์ มณีธรรม. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในหมู่บ้านชาวเขา ตามโครงการเงินกู้ OCEF : กรณีศึกษาบ้านจะคือ ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รสิกา อังกูร และคณะ. (2547). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ และบงกช เจนชัยภูมิ. (2554). การศึกษาศักยภาพเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทบ้านหนองห้าง ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุพัตรา วิชัยประเสริฐกุล. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะเกร็ด จังหวัด นนทบุรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิศยา พวงทอง. (2549). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาชุมชนปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

อำคา แสงงาม. (2553). การศึกษาศักยภาพทรัพยากรและการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Strauss, C. (1969). The Elementary Structures of Kinship. Revised edition translated by James Harle BELL, John Richard von STURMER, and Rodney NEEDHAM (ed.). London: Spottiswoode.

Okazaki, E. (2008). A community-based tourism model: Its conception and use. Journal of Sustainable Tourism, 16(5), 511–529.

Gareth, S. & Williams, M., A. (2004). Tourism and Tourism Spaces. London: Sage Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

How to Cite

อินทรกำแหง ภ. (2023). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชนไทยกูย ไทยเขมรและไทยลาวในจังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(4), 297–310. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/257096