การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มหมูแดดเดียวสูตรไผ่พระ ตำบลไผ่พระ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชนัญชิตา อรุณแข มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

บัญชี, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, หมูแดดเดียว, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพจริงของการใช้ข้อมูลทางบัญชีในการจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน และเพื่อคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์และกำหนดราคาขายที่เหมาะสม ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงได้แก่ ประธานกลุ่ม 1 คน สมาชิกกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิตที่สมัครใจให้ข้อมูล 5 คนและอาสาสมัครชุมชน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูล โดยนำมายืนยันความถูกต้องและสอดคล้องกับประธานกลุ่ม และอาสาสมัครชุมชนอีกครั้ง

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์ในปัจจุบันประธานกลุ่มหมูแดดเดียวมีฝีมือ มีประสบการณ์ สามารถขายให้ลูกค้ากลุ่มเดิมได้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาประมาณ 3 ปี ไม่เคยมีการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชี การคำนวณยังไม่ถูกต้องเนื่องจากคำนวณต้นทุนผันแปรไม่ครบถ้วน และการกำหนดราคาขายใช้วิธีการกะประมาณ ทั้งนี้พบว่าราคาขายที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 250-300 บาท ซึ่งยังถูกกว่าท้องตลาดที่ราคาขายเฉลี่ย 380 บาทต่อกิโลกรัม

References

กิ่งกนก รัตนมณี, และคณะ. (2560). การศึกษาการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 75-84.

กรรณิการ์ จันทร์อินทร์ และสุวรรณ จันทร์อินทร์. (2564). การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7 รูปแบบออนไลน์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เรื่องต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ทอขนแกะ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (น.123-132), 12-14 พฤษภาคม 2564. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

จาริตา หินเธาว์ และกันยารัตน์ สุขวัธนกุล. (2553). การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เรื่องการจัดการผลิตภัณฑ์ OTOP กรณีศึกษา: กลุ่มแม่บ้านสามัคคีพัฒนา บ้านถ้ำเต่า หมู่ 1 ตำบลสามัคคีพัฒนา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร (น.9-16), 3-5. กุมภาพันธ์ 2553. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดุษฎี บุญธรรม. (2556). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตแท่งชิ้นงานในอุตสาหกรรมโดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 36(2), 203-213.

ธวัชชัย มงคลสกุลฤทธิ์. (2550). คัมภีร์การตั้งราคาสินค้า. กรุงเทพฯ: ไอ เอ็ม บุ๊คส์.

นันทพร พิทยะ และคณะ (2551). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

ปัญญา อิสระวรวาณิช. (2560). รู้หลักสำคัญการบัญชีสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด.

เพ็ญนภา หวังที่ชอบ และสุภลัคน์ จงรักษ์. (2564). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านกูบ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 122-130.

ศรัณย์ ชูเกียรติ. (2555). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

สมชาย สุภัทรกุล และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2559). การบัญชีสำหรับผู้บริหารและผู้ประกอบการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

สมชาย สุภัทรกุล และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2556). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

Horngren, C.T., Datar, S.M., Foster, G., Rajan, M., and Ittner, C. (2009). Cost Accounting: A Managerial Emphasis International Version (13th Edition). U.S.A.: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26

How to Cite

อภิวัฒน์ไพศาล ณ., & อรุณแข ช. (2023). การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษากลุ่มหมูแดดเดียวสูตรไผ่พระ ตำบลไผ่พระ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(2), R133-R145. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/257062