การพัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา, ความยึดมั่นผูกพันในการเรียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 จำนวน 45 คน ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยมีหน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าความเที่ยงตรง (Validity) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) สถิติทดสอบค่าที (t–test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.24/82.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2. นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์ มีความยึดมั่นผูกพันในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเศรษฐศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤตนัย ชุมวุฒิศักดิ์ และลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย รายวิชา ส15101 สังคมศึกษา 5 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยเกม (GAME-BASED-LEARNING). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 177-185.
ถนัดกิจ บุตรวงค์และคณะ (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(80), 135-144.
นพมาศ ว่องวิทยสกุล. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา: การทดลองแบบอนุกรมเวลา (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภาธร สันหนองเมือง. (2555). การจัดการชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พรเทพ กลิ่นด่านกลาง. (2563, 22 ตุลาคม). ครูกลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย [บทสัมภาษณ์].
พิชาติ แก้วพวง. (2563). ศาสตร์การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ภคนันท์ องอาจ. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(1), 149-158.
มารุต พัฒผล. (2561). เอกสารประกอบการเรียนรู้ รายวิชาสัมมนานวัตกรรมการโค้ชเพื่อการรู้คิด: บทที่ 9 การสร้างความยึดมั่นผูกพันในการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2547). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพชุดการสอน. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วรัตต์ อินทสระ. (2562). เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
วินัยธร วิชัยดิษฐ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สุมารี ไชยประสพ. (2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา โรงเรียนโป่งน้ำร้อนวิทยา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อิษฎาภรณ์ ภู่ระหงษ์. (2559). ผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 54-59.
Kurt, S. (2018). ADDIE Model: Instructional Design. Retrieved December 16, 2018, from https://educationaltechnology.net.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น