การพัฒนาแนวคิดฟิสิกส์ ในรายวิชาฟิสิกส์สำหรับครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในสถาบันผลิตครู
คำสำคัญ:
แนวคิดฟิสิกส์, นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์, รายวิชาฟิสิกส์สำหรับครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวคิดฟิสิกส์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ในรายวิชาฟิสิกส์สำหรับครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สถาบันการผลิตครูแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 18 คน การพัฒนาแนวคิดเน้นกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบหาความรู้ การลงมือปฏิบัติและการฝึกปฏิบัติการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดแนวคิดวิชาฟิสิกส์สำหรับครูมีลักษณะเป็นแบบเขียนตอบคำถามปลายเปิด จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยจัดกลุ่มคำตอบแนวคิดเป็น 5 กลุ่ม แสดงข้อมูลเป็นค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดฟิสิกส์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม พบว่า กลุ่มแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ (SC) เพิ่มขึ้นจาก 4.44% เป็น 26.67% กลุ่มแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์แบบไม่สมบูรณ์ (PC) เพิ่มขึ้นจาก 22.78% เป็น 32.78% กลุ่มแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์แบบไม่สมบูรณ์และแนวคิดคลาดเคลื่อนบางส่วน(PC&CM) เพิ่มขึ้นจาก 20.00% เป็น 30.78% กลุ่มแนวคิดคลาดเคลื่อน(CM) ลดลงจาก 34.44% เป็น 10.56% และกลุ่มที่มีไม่มีแนวคิดวิทยาศาสตร์(NR) ลดลงจาก 18.33% เป็น 0.00%
References
กุลธิดา สุวัชระกุลธร. (2556). การพัฒนาแนวคิดและการถ่ายโอนแนวคิดเรื่องแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ และคณะ. (2548). การสำรวจแนวคิดเกี่ยวกับฟิสิกส์ของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์, 26(1), 52-63.
จิรัสยา นาคราช (2558). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบประสาทและ ความสามารถในการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สิงหา ประสิทธิ์พงศ์. (2556) ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจในแนวคิดหลักเรื่องแรงและการเคลื่อนที่กับความคาดหวังการเรียนรู้ฟิสิกส์ของนักศึกษาครูวิชาเอกฟิสิกส์. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2551). การจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิด, วารสารศึกษาศาสตร์, 31(1), 27-35.
Bulunuz, N., & Jarrett, O.S. (2009). Understanding of Earth and Space Science Concepts: Strategies for Concept-Building in Elementary Teacher Preparation. School Science and Mathematics, 109(5), 276-289.
De Jong, O., et al. (2005). Preservice teachers' pedagogical content knowledge of using particle models when teaching chemistry. Journal of Research in Science Teaching, 42(8), 947-964.
Deboer G.E. (2006) Historical Perspectives on Inquiry Teaching In Schools. In: Flick L.B., Lederman N.G. (eds) Scientific Inquiry and Nature of Science. Science & Technology EducationLibrary, (25), 17-35.
Haidar, A.H. (1997). Prospective chemistry teachers’ conception of the conservation of matter and related concepts. Journal of Research in Science Teaching, 34(2), 181-197.
Hesse, J. (1989). From naive to knowledgeable. The Science Teacher, 57(9), 55-58.
Horsley, S.L., et al. (1998). Designing professional development for teachers of science and mathematics. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Posner, G.J. et al. (1982). Accommodation of a Scientific Conception: Toward a Theory of Conceptual Change. Science Education, 66(2), 211-227.
Wheatley, G. H. (1991). Constructivist Perspectives on Science and Mathematics Learning. Science Education, 75(1), 9-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น