การคิดแบบโยนิโสมนสิการและการรับรู้การมีกัลยาณมิตรที่เกี่ยวข้อง กับการให้อภัยผู้อื่นของวัยรุ่นชายตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุพัทธ แสนแจ่มใส มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

โยนิโสมนสิการ, กัลยาณมิตร, การให้อภัยผู้อื่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ได้แก่ การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย การคิดแบบสามัญลักษณ์ การคิดแบบรู้ทันคุณโทษและทางออก และการคิดแบบเร้ากุศล และการรับรู้การมีกัลยาณมิตร ได้แก่ ความมีผู้ปกครองเป็นกัลยาณมิตร ความมีครูเป็นกัลยาณมิตร ความมีเพื่อนเป็นกัลยาณมิตรที่มีต่อการให้อภัยผู้อื่นของวัยรุ่นชายตอนต้นในโรงเรียนเอกชนชายล้วน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือวัยรุ่นชายตอนต้นที่อยู่ในโรงเรียนเอกชนชายล้วนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 174 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก การเก็บข้อมูลวิจัยใช้แบบวัดที่มีลักษณะที่เป็นมาตรประเมินค่า และแบบวัดสถานการณ์ให้เลือกตอบ และสถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า การคิดแบบโยนิโสมนสิการได้แก่ การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย การคิดแบบสามัญลักษณ์ การคิดแบบรู้ทันคุณโทษและทางออก และ การคิดแบบเร้ากุศล และการรับรู้การมีกัลยาณมิตรได้แก่ ความมีผู้ปกครองเป็นกัลยาณมิตร ความมีครูเป็นกัลยาณมิตร และ ความมีเพื่อนเป็นกัลยาณมิตร สามารถร่วมกันการทำนายการให้อภัยผู้อื่นของนักเรียนชายวัยรุ่นตอนต้นได้ร้อยละ 39 ทั้งนี้ตัวแปรที่มีความสำคัญ ได้แก่ ความมีครูเป็นกัลยาณมิตร ความมีเพื่อนเป็นกัลยาณมิตร และการคิดแบบสามัญลักษณ์ ตามลำดับ

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2564). จำนวนคดีอาญาสะสมจำแนกตามเพศ. สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จาก https://djop.gdcatalog.go.th/dataset/d7a0016f-0f08-4ddd-bd64-6ffef8e69bf2

ญาณกร นิลพุ่ม. (2553). อิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคม และบุคลิกภาพที่มีต่อการให้อภัยของวัยรุ่น: กรณีศึกษานักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ญาดา อัจจิกุล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดแบบโยนิโสมนสิการและความมีกัลยาณมิตรกับการให้อภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการ : เอกสารคำสอนวิชา จต 221. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต.). (2556). โยนิโสมนสิการ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จากhttps://www.watnyanaves.net/th/book_detail/592

พระไพศาล วิสาโล. (2554). การให้อภัย - พระไพศาล วิสาโล. ช่อง Youtube: หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ -BIA-

สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2560). เอกสารคำสอนวิชาทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ ศูนย์การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ghobari Bonab, B., et al. (2021). Effectiveness of Forgiveness Education with Adolescents in Reducing Anger and Ethnic Prejudice in Iran. Journal of Educational Psychology, 113(4), 846-860.

Hair, J. F., et al. (2014). Multivariate data analysis: Pearson new international edition. Harlow: Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

How to Cite

ฆังนิมิตร ส., เพียซ้าย ภ. ., & แสนแจ่มใส ส. . (2022). การคิดแบบโยนิโสมนสิการและการรับรู้การมีกัลยาณมิตรที่เกี่ยวข้อง กับการให้อภัยผู้อื่นของวัยรุ่นชายตอนต้น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), R85-R97. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/256828