ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของบุคลากรภาครัฐ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีดิจิทัล, เจนเนอเรชั่นบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทักษะความเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จำแนกตาม Generation 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาทักษะความเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของบุคลากรภาครัฐ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรภาครัฐ กรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 225 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารที่กำกับดูแลยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล และมีอำนาจในการดำเนินการอนุมัติสนับสนุนแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร จำนวน 4 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. เจนเนอเรชั่น (Generation) ที่แตกต่างกันมีระดับทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล แตกต่างกันในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (Sig = .000)
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของบุคลากรภาครัฐ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการพัฒนา และปัจจัยด้านบริหาร 3. แนวทางในการพัฒนาทักษะความเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของบุคลากรภาครัฐ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ กำหนดนโยบาย และแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน สนับสนุนหลักสูตรฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม
References
กัมพล เกศสาลี และกันยารัตน์ เควียเซ่น. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 503-513.
ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(1), 202-210.
พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น