การสื่อสารเพื่อการบริหารงานเชิงพุทธด้วยผู้นำ

ผู้แต่ง

  • สุพรรณา ภัทรเมธาวรกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กรกช ขันธบุญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารเชิงพุทธ, การบริหารเชิงพุทธ, ผู้นำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. แนวทางการนำหลักธรรม 2. การสื่อสารบริหารเชิงพุทธกับหลักการ POSDC ของผู้นำ และ 3. การประยุกต์ใช้หลักธรรมพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 16 คน คือ ผู้นำภาคธุรกิจ และผู้นำภาคการศึกษาใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากรายการธรรมะกับซีอีโอผ่านช่อง YouTube วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางตรง คือ ผู้นำศรัทธาในทางพุทธศาสนาด้วยตนเองอยู่แล้ว ฝึกปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เกิดผลทางบวก ส่วนแนวทางอ้อม คือ ผู้นำได้ลองปฏิบัติ อาจเกิดจากการบอกต่อจากผู้นำต่างองค์การด้วยกัน แล้วเกิดความศรัทธา จึงลงมือทำ เห็นผลว่าเกิดผลดีกับการบริหารองค์การ คือหลักพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) บูรณการกับการบริหารแบบ POSDC (การวางแผน การจัดองค์การ การคัดสรรพนักงาน การอำนวยการ และการควบคุม) 2. การประยุกต์การสื่อสารบริหารเชิงพุทธผ่านการพูดและการฟังเท่านั้น 3. หลักพรหมวิหาร 4 สามารถลดความตึงเครียดอันเกิดมาจากการบริหารของผู้นำ ทำให้ทำงานมีสมาธิ ทำงานด้วยจิตที่นิ่ง มีเมตตา นอกเหนือจากนี้ยังก่อให้เกิดการบริหารงานองค์การอย่างเป็นระบบ นั่นหมายถึง หลักพรมวิหาร 4 ทำให้กำหนดทิศทางงานออกมาเป็นระบบ ตรวจสอบได้ เป็นรูปธรรม ปรับปรุงงานได้อย่างต่อเนื่อง บรรยากาศทำงานเป็นไปในทางบวก

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2559). ผู้บริหารกับพรหมวิหารธรรม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 9(1), 1-12.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2559). หลักการสื่อสารตามแนวพุทธศาสนา. วารสาร BU Academic Review, 3(2), 39-146.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วินดาต้าโปรดักส์.

พระใบฎีกาธวัชชัย จรณธมฺโม และพระมหาประเวศ ปญฺญาทีโป. (2564). การบริหารจัดการเชิงพุทธ : องค์การสมัยใหม่. ลำพูน: วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช.วิทยาลัย.

พายุ ภูคำวงษ์. (2560). การปรับใช้หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กให้การทำงานมีประสิทธิภาพ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 148-159.

พระครูสถิตบุญวัฒน์ (ชาญ ถิรปุญฺโญ) และคณะ. (2559). การบริหารเชิงพุทธบูรณาการของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 165-176.

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์การโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 11(26), 162-171.

โสมจิราวดี จำปาสิทธิ์ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(1), 85-101.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2550). ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

ภัทรเมธาวรกุล ส., ท่อแก้ว ว. ., & ขันธบุญ ก. . (2022). การสื่อสารเพื่อการบริหารงานเชิงพุทธด้วยผู้นำ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R116-R130. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/256664