การศึกษาและวิจัยแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวกวางสีที่เดินทางมาเยี่ยมชมประเทศไทย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมที่เป็นแรงจูงใจ, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ท่องเที่ยวไทยบทคัดย่อ
ปัจจุบัน ในระบบการศึกษาการท่องเที่ยวนั้น พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวถือเป็นส่วนสำคัญหลักในการนำมาศึกษาวิเคราะห์ นักท่องเที่ยวนั้น นอกจากมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลักแล้ว ยังเป็นหัวใจหลักของการศึกษาด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย ประกอบกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศจีน ระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยีหรือสิ่งแวดล้อมของประชาชนก็เพิ่มขึ้นและพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ความต้องการทางด้านการท่องเที่ยวก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวจีนกับประเทศไทยถือเป็นโครงการใหม่ในการพัฒนาล่าสุดในช่วงระยะไม่กี่ปีมานี้ เป็นที่ทราบกันดีในด้านการท่องเที่ยวในส่วนของการเลือกซื้อสินค้านั้น ประชาชนจีนจะเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของไทยที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ข้อนี้จะเห็นได้ชัดแต่ในด้านของโครงการท่องเที่ยวนั้น ในปัจจุบันนักวิชาการในประเทศยังขาดข้อมูลในเชิงลึกและตัวอย่างที่หลากหลาย จากการค้นพบผ่านการเก็บรวบรวมเอกสารภายในประเทศพบว่ามีเนื้อหาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องแรงจูงใจและอุปสรรคในการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ นโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ เป็นต้น
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้มุมมองเชิงทฤษฎีเป็นจุดเริ่มต้น โดยมีนักท่องเที่ยวจากกวางสีที่ไปเที่ยวประเทศไทยเป็นกรณีศึกษากลุ่มตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์เชิงลึกในลักษณะของพฤติกรรมด้านต่างๆอย่างละเอียด โดยในขั้นตอนแรก นำพฤติกรรมของแต่ละบุคคลมาเป็นเป้าหมายของการสร้างระบบปัจจัยเป็นหลัก ลักษณะของบุคคลที่ได้ไปสัมผัส ลักษณะทางจิตวิทยา
สามพฤติกรรมหลักของคนส่วนใหญ่บนพื้นฐานต่าง ๆ เหล่านี้ โดยผู้วิจัยได้แบ่งลักษณะพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสามลำดับ ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของพฤติกรรมนั้นรวมถึงปัจจัยทางจิตวิทยา และลักษณะพิเศษของกิจกรรมการท่องเที่ยวและบุคคลที่ได้เข้าไปสัมผัสเกี่ยวข้อง เพื่อเข้าใจข้อเสียหรือข้อบกพร่องของโครงการท่องเที่ยวจีนปัจจุบันในประเทศไทย เพื่อนำไปพัฒนาในการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว ออกแบบสร้างอาคารสถานที่ท่องเที่ยว รับรู้เข้าใจมุมมองของรัฐบาลพร้อมเสนอกลยุทธ์การปรับปรุงที่สอดคล้องกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยว เพื่อรับประกันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของกวางซีที่มีต่อประเทศไทยในการติดตามการพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่นคงต่อไปในอนาคต
References
Chen S.G. (2019). Research on the Connotative Development of Tourism from the Perspective of Global Tourism. CO-Operative Economy & Science, 20(1), 52-54.
Kanokporn Uttasing. (2017). Research on Perception and Attitude of Tourism Impact of Thai Village Residents. Minzu University of China.
Chien, et al. (2011). The Destination Competitiveness of Kinmen’s Tourism Industry: The Interrelationships Tourist Perceptions, Service Performance, Customer Satisfaction and Sustainable Tourism. Journal of Sustainable Tourism, 19(2), 247-264.
Li R.X. (2008). Thailand’s Tourism Development Experience and Its Reference. Consume Guide, 32(2), 340-351.
Kira bashkirtseva. (2016). Research on the Current Situation and Trend of Tourism Development Between China and Thailand. Harbin Normal University.
Zhang, et al. (2019). Study on the Measures of Developing Tourism Economy in Thailand. Human Resource Management, 13(2), 439-453.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น