รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ตามยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผู้แต่ง

  • ปรีดา กลิ่นเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมาน งามสนิท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการหลักพุทธธรรม, การปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์, เพิ่มประสิทธิผล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน และ 3. นำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ เป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.990 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 450 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคนแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ โดยรวมร้อยละ 87 และ 3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ มีปัจจัย คือ การนำนโยบายไปปฏิบัติและการบริหารจัดการองค์การ แล้วจึงบูรณาการหลักพุทธธรรมคือหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์

References

กองแผนงาน กรมปศุสัตว์. (2563). ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ.2563-2565. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก http://planning.dld.go.th/th/index.php/th/plan-menu

ถนัด ไชยพันธ์. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธิสีลาภิวัฒน์ (เมธาภิวัฒน์ ฐิติโก). (2563). การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้าน การปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วงเพชร คงจันทร์. (2556). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับหลักกฎหมาย: กรณีศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภักดี รัตนมุขย์. (2561). THAILAND 4.0 ตอบโจทย์ประเทศไทย?. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ปัญญาชน.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 25561-2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.

อำพล ปุญญา. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการน้ำตามหลักพุทธวิธีของจังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Edwards, G. C. (1980) Implementing Public Policy. Washington. D.C: Congressional Quarterly Press.

Fayol, H. (2016) General and Industrial Management. Paris; Castres: ÉDI-gestion: ANDESE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

กลิ่นเทศ ป., งามสนิท ส. ., & สุขเหลือง เ. . (2022). รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ตามยุทธศาสตร์ของกรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R88-R99. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255819