การประยุกต์ใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทากับการจัดการธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • กาญจนา สุระ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

หลักมัชฌิมาปฏิปทา, การจัดการธุรกิจ, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจได้พยายามนำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับกิจการ หลักคุณธรรมที่นำมาใช้กับการจัดการธุรกิจ คือ หลักมัชฌิมาปฏิปทาได้แก่การประยุกต์ใช้สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาสมาธิ หลักมัชฌิมาปฏิปทากับการจัดการธุรกิจประกอบ ได้แก่ การจัดการผลิต ผู้ประกอบการมีสัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบว่าควรมีการปฏิบัติดี ไม่มุ่งร้ายต่อผู้บริโภค มีสัมมาสังกัปปะ คือมีความคิดที่ดีไม่คิดประทุษร้ายหรือคิดเอาเปรียบผู้อื่น ธุรกิจพึงผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยทั้งการออกแบบและการผลิต มีสัมมาวายามะกับผู้บริโภคมีความพยายามในการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ การจัดการตลาด ผู้ประกอบการมีสัมมาวาจา มีการเจรจาที่ดีเป็นไปในทางสร้างสรรค์ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค มีสัมมากัมมันตะคือ ดำเนินงานด้านการตลาดอย่างมีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีการประพฤติปฏิบัติที่ดี มีความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง มีสัมมาวายามะในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตให้มีคุณภาพ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ผู้ประกอบการมีสัมมาสังกัปปะ มีความคิดที่ดีไม่มีอคติกับพนักงาน มีสัมมากัมมันตะ โดยมีการประพฤติปฏิบัติที่ดีมีคุณธรรมกับพนักงาน มีสัมมาวาจา โดยผู้ประกอบการพูดจาสุภาพกับพนักงาน และการจัดการการเงินผู้ประกอบการมีสัมมาอาชีวะ คือการวางแผนด้านการเงินให้มีความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่กิจการ มีสัมมาสติ คือ มีความรอบคอบและตั้งใจในการวางแผนการใช้เงินมีสัมมาวายามะคือมีความพยายามที่จะดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่กิจการอยู่เสมอ

References

ขวัญกมล ดอนขวา. (2556). การจัดการธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จินตนา บุญบงการ. (2552). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด. (2560). กรณีศึกษาเรื่องธรรมาภิบาลกับบริษัท Enron. สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2564, จาก www.ledge.bualuang.co.th

นันทิยา หุตานุวัฒน์ และณรงค์ หุตานุวัฒน์. (2552). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

ปิยะพันธ์ ทยานิธิ. (2562). วงจรความยั่งยืน. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/JQdS4

พระครูนิพัทธ์กัลยาณวัฒน์ (คะนอง กลฺยาณธมฺโม) และพระศรโสภณ ปภสฺสโร. (2562). พัฒนาการของการศึกษาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธศาสตร์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 297-316.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.

มติชนออนไลน์. (2564). อย.เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ Efferin อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สร้างเรื่องหลอกผู้บริโภค. สืบค้น 24 มกราคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2901847

วรัญญู เวียงอำพล. (2546). การจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในประทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

ศูนย์คุณธรรม. (2552). โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์.

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. (2564). รายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ปลายเดือนมีนาคม ถึง วันที่ 8 เมษายน 2564. สืบค้น 18 กันยายน 2564, จาก http://www.BBC.com

สหทัย โมสิกะ. (2557). คุณธรรมนำธุรกิจ. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2564, จาก www.posttoday.com

David, G. (2013). Policy: Sustainable development goals for people and planet. Retrieved September 22, 2021, from http://www.iied.org

Thai Union. (2012).Business Ethics. Retrieved September 21, 2022, from https://investor-th.thaiunion.com/

Velasquez, M. G. (2006). Business Ethics. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01