แนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • กาณติมา พงษ์นัยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

แนวทาง, สวัสดิการ, แรงงานผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นอย่างยิ่งในการพึ่งพากลุ่มวัยแรงงาน แต่ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกลุ่มวัยแรงงานของประเทศไทยกลับมีสัดส่วนลดลง กลุ่มวัยแรงงานจึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานได้ แต่หากพิจารณาถึงศักยภาพของกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ พบว่าเป็นผู้มากด้วยประสบการณ์ ความรู้และทักษะอื่นที่สำคัญ สามารถทดแทนอัตรากำลังกลุ่มวัยแรงงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยยังช่วยลดปัญหาสังคมและภาระของภาครัฐในการจัดสวัสดิการอีกด้วย สามารถใช้ศักยภาพในการทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยได้รับสิทธิสวัสดิการเพื่อการดำรงชีพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมเฉกเช่นกลุ่มวัยแรงงานอื่นทั่วไป จึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนในการทำงานอย่างบูรณาการกัน เพื่อร่วมกันหาแนวทางการจัดสวัสดิการอย่างเหมาะสมให้แก่กลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ

จากข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุที่สมควรได้รับอย่างเหมาะสมมีความเท่าเทียมกับกลุ่มวัยแรงงานอื่นโดยทั่วไป ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาโดยการศึกษาเอกสารจากหนังสือ วารสารวิชาการ และเอกสารของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการจัดสวัสดิแก่กลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ โดยมุ่งมองในประเด็นด้านแนวทางการจัดสวัสดิการและการบูรณาการจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

References

กฤษฎา ศุภกิจไพศาล. (2563). การพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมที่มีความเป็นธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ. รวมบทความการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสวันสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. “สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม: การปลดล็อกความเหลื่อมล้ำสู่ความยั่งยืน”: 83 -99 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบปีที่ 66 ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

กาณติมา พงษ์นัยรัตน์. (2564). แนวทางการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. ทุนอุดหนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

______. (2564). แนวทางการจ้างแรงงานผู้สูงอายุเพื่อลดปัญหาตลาดแรงงานของภาคเอกชน. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยากร, 4(2), 56 – 71.

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2555). การวิเคราะห์หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในบริบทประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 38(2), 103-14.

ธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว และคณะ. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: ทุนสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ.

วิจิตรา วิเชียรชม. (2555). กฎหมายสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2553). การปรับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์สารสนเทศทางประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. (2561). แรงงานสูงอายุคืออย่างไร. สืบค้น 25 กันยายน 2564, จากhttps://www.matichon. co.th/ columnists/news_1174710

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เอกสารประกอบประชุมสัมมนา เรื่อง (ร่าง) แผนประชากรเพื่อการพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). วันที่ 29 พฤษภาคม 2560.

สิริยา รัตนช่วย. (2557). ความเป็นธรรมในการเข้าถึงและการรับประโยชน์จากแหล่งเงินทุนในชุมชนของผู้ด้อยโอกาสเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต กรณีศึกษา อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศ. วารสารเทคโนโลยี. ภาคใต้, 7(1),73-81

อัครวัฒน์ พระเกตุเมือง และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการสวัสดิการสังคมแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 205-217.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ถอดบทเรียนการจัดการชุมชนทุ่งตำเสา. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Bentham, J. (1789). Constitution Code. in works. Edited by John Bowring, vol. I, (Edinburgh 1843) vol. IX, book I, chap. 15, p.107.

Chai-Anan Samudavanija. (2009). State (3rd ed.). Bangkok: Institute of Public Policy Studies.

Kosteas, V. D. (2009). Job satisfaction and promotions. Cleveland State University.

Ministry of Social Development and Human Security. (2006). Study report on the direction and form of social welfare management in Thailand. Bangkok: Teppenvanis.

Pornthip Pimolsindh. (2008). Public relations research. Bangkok: Thammasat University.

Rawls, J. (1997). Theory of Justice. Cambridge: Harvard University press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26