บทบาทพระสงฆ์: ท่ามกลางวิกฤตของสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการพุทธมณฑลจันทบุรี

คำสำคัญ:

บทบาทพระสงฆ์, สังคมไทย

บทคัดย่อ

พระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นต่อชุมชนและสังคม พระสงฆ์ ให้ความรู้ และแนวทางปฏิบัติอันเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในชุมชน ส่งเสริมให้ใช้หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  เกิดวิกฤตของสังคมไทย ปัญหาทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจการปิดตัวของภาคการผลิตและภาคบริการก่อให้เกิดการตกงานครั้งใหญ่ในสังคมไทย เกิดการว่างงานและยากจน การระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่สังคมโลกและสังคมไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคาม ปัญหาความมั่นคงด้านสาธารณสุข ปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ขยายตัวในเชิงพื้นที่เป็นวงกว้าง และเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเกษตรกรในชนบทอย่างมาก บทบาทของพระสงฆ์ ด้านการเผยแผ่ ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและปรากฏการณ์ของสังคม บทบาทที่แสดงออกจริงตามนโยบายทางบ้านเมืองภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2561 การส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา มีภาระหน้าที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคมตามภาระกิจหลัก ด้านการสาธารณสงเคราะห์ประชาชน ต้องมีองค์ความรู้ที่แท้จริงเป็นฐานดำเนินการ เช่น รักษาโรคโดยใช้สมุนไพร เยียวยาผู้ติดยาเสพติด บทบาทลักษณะนี้ อาจจะไม่ใช่บทบาทโดยตรงของพระสงฆ์ แต่เป็นบทบาทที่ยอมรับได้ของสังคม และไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย การเป็นผู้นำด้านการพัฒนาชุมชน โดยอาศัยจุดแข็งของพระสงฆ์ไทยที่มีภาพลักษณ์โดดเด่นเรื่องการเป็นผู้นำ การรักษาสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี จะต้องยึดกรอบของพระธรรมวินัยเป็นหลัก และสามารถบูรณาการให้สอดคล้องกับยุคสมัย

References

กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2548). สังคมวิทยาตามแนวพุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระเทพรัตนสุธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร). (2553). บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการปกครองจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพนมนคร มีราคา. (2549). การดำรงสมณเพศของสามเณรโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พินิจ ลาภธนานันท์. (2544). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรพร สิริกาญจน. (2540). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ: แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียนสุวัณโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2545). กฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2563). วิกฤตในสังคมไทย. สืบค้น 25 กันยายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th

Sarbin T.R. (1975). Role Theory Handbook of Psychology. New York: Addison Wesley Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

How to Cite

ถิรภทฺโท พ. . (2022). บทบาทพระสงฆ์: ท่ามกลางวิกฤตของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), A151-A166. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255459