คาถาพิธีกรรมของหมอยาถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ชานนท์ ไชยทองดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

Magic, Ritual Folk, Healer, Sisaket Province

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยคาถา และพิธีกรรมของหมอยาในการรักษาโรคเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ในการวิจัย คือ ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ 1. ชุมชนชาติพันธุ์ลาว ชุมชนบ้านพันทาใหญ่ ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ 2. ชุมชนชาติพันธุ์ส่วยบ้านตาจ้อย ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษณ์ 3. ชุมชนชาติพันธุ์เขมร บ้านสดำ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ และ 4. ชุมชนชาติพันธุ์เยอ บ้านโพนค้อ ตำบลโพนค้อ อำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยมีประเด็นในการวิจัยเพื่อศึกษาวัฒนธรรมชุมชน และเพื่อศึกษาคาถา และพิธีกรรมของหมอยาในการรักษาโรคแบบพื้นบ้าน

ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมชุมชน ได้แก่ 1.1 ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน 1.2 ระบบสุขภาพชุมชน 1.3 ประวัติชุมชน และ1.4 ประวัติบุคคลที่น่าสนใจ 2. คาถาและพิธีกรรม ได้แก่ 2.1 คาถาที่พบ 2.2 ความหมายของคาถา 2.3 การใช้ภาษาในคาถา และ 2.4 คาถากับพิธีกรรม ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงพิธีกรรมรักษาโรคของหมอพื้นบ้านที่มีจุดประสงค์สำคัญ คือ การบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยอันเกิดจากทางกายและทางใจ ซึ่งหมอยาเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจของคนในชุมชน ปัจจุบันพิธีกรรมการรักษาโรคแบบพื้นบ้านโดยมีหมอยาเป็นผู้รักษาจึงมุ่งรักษาคนป่วยจากโรคที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่มองไม่เห็น รวมถึงการรักษาทางอารมณ์ จิตใจ และสติ

References

กรุณา จันทุม และคณะ. (2559). วัฒนธรรมการรักษาโรคของหมอพื้นบ้านอีสาน กรณีศึกษา ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, (11)ฉบับพิเศษ, 149-156.

กาญจนา แก้วเทพ. (2539). สื่อส่องวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ๊นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

จักรแก้ว นามเมือง และคณะ. (2561). วิเคราะห์บันทึกปั๊บสาแพทย์พื้นบ้าน (หมอเมือง) ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทัศน์, (2)1, 1-13.

ดำ นันทวงษ์. (2563, 14 กรกฎาคม). หมอยา [บทสัมภาษณ์].

ทักษิณา ไกรราช. (2549). มิติวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปฐมพงศ์ ลิ้มเจริญ และคณะ. (2559). หมอธรรม: ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และเครือข่ายทางสังคม ในภาคอีสาน. วารสารช่อพะยอม, (27)1, 25-34.

ปรีชา อุยตระกูล และคณะ. (2531). บทบาทหมอพื้นบ้านในสังคมชนบทอีสาน (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มาโนช วามานนท์ และเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2537). ยาไทย: สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สวาท สุดสังข์. (2563, 8 มิถุนายน). หมอยา [บทสัมภาษณ์].

สุดารักษ์ ประสาร และอรธิดา ประสาร. (2558). กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการดูแลรักษาสุขภาพในสี่กลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารงานวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, (2)1, 84-10.

สุนทร ทวีศรี. (2563, 6 สิงหาคม). หมอยา [บทสัมภาษณ์].

สุวิน ศรีสวย. (2563, 9 กันยายน). หมอยา [บทสัมภาษณ์].

อาหมัดอัลซารีย์ มูเก็ม. (2559). ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบน พื้นที่บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

ไชยทองดี ช. (2022). คาถาพิธีกรรมของหมอยาถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R27-R39. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255447