การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรีตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • สุริยา รักษาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สมรรถนะ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการ และนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรีตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพทั่วไป ด้านจุดแข็ง คือ องค์กรมีสถานที่พร้อม หน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ จุดอ่อน คือ ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดการนำเอาหลักธรรมมาบูรณาการในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม โอกาส คือ มีแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ บุคลากรมีโอกาสก้าวหน้าสูง อุปสรรค คือ มีการระบาดของไวรัส Covid-19 ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ ขาดงบประมาณสำหรับการศึกษา 2. กระบวนการ ประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษาและพัฒนา ให้บุคลากร มีความรู้ความสามารถทักษะและประสบการณ์ จากนั้นพัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิต พัฒนาปัญญา ให้บุคลากรมีร่างกายแข็งแรง มีระเบียบวินัย มีจิตใจเข้มแข็ง และมีปัญญา 3. แนวทางทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ การวางแผน การปรับสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรให้เหมาะสม และการสร้างแรงจูงใจ ด้านการบริการที่ดี ได้แก่ พัฒนาทักษะการบริการ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการสื่อสาร ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ อบรมพัฒนาตามสายงาน จัดการศึกษา และมีส่วนร่วม ด้านจริยธรรม การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านความร่วมแรงร่วมใจ การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ความสามัคคี

References

กีรติ กมลประเทืองกร. (2558). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จักรวาล สุขไมตรี. (2557). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธจริยธรรมระดับอุดมศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชนะนิตา บุญญติพงษ์. (2561). แรงจูงใจในการพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของบุคลากร สำนักงานสรรพากรภาค 7. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(1), 258-272.

นิยม สิงห์โห. (2558). ยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธวิธีของทหารกองประจำการ กองบัญชาการศูนย์การทหารม้า (ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปวีณา สกัน และ เขมณัฐ ภูกองไชย. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรการบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพรเจริญจังหวัดบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(1), 28-38.

พระกรินทร์ ฐิตธมฺโม (ลำเทียน). (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธบูรณาการของเทศบาลตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วารสารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(7), 269-283.

พระครูโกศลวชิรกิจ (โกศล วีตโรโค). (2558). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุเมฆ สมาหิโต. (2562). โมเดลจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 1(2), 31-45.

พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 2(1), 16-30.

วิภากร โฆษิตานนท์. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. จันเกษมสาร, 21(41), 39-48.

ศุภกิจ สุภกิจฺโจ. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สายรุ้ง บุบผาพันธ์. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสกสรร ตันติวนิช. (2562). แนวคิด กระบวนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวโน้มการปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(1), 80-85.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2553). การพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 8(2), 34.

Ledford, E. & Heneman, L. R. (1998). Competency Pay for Professionals and Managers in Business: A review and Implications for Teachers. Journal of Personnel Evaluation in Education, 12(2), 103-121.

Richard E. B. (2008). Competencies in the 21st century. Journal of Management Development, 27(1), 5-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

รักษาเมือง ส., & จิตตานุรักษ์ พ. . (2022). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรีตามหลักพุทธธรรม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R292-R304. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255427