ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการควบคุม การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

ผู้แต่ง

  • เฉลิมชล เกษจุโลม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การประมง, สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, การทำการประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

บทคัดย่อ

  

ทรัพยากรประมงของประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญและมีผลผลิตสัตว์น้ำในปริมาณสูงถึงหนึ่งในสามของผลผลิตทั้งหมดทั่วโลก แต่การประมงในอาเซียนได้ถูกทำลายจากการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม กลไกความร่วมมือด้านการประมงในอาเซียนดำเนินการภายใต้กรอบการประชุมของคณะทำงานประมงอาเซียนและความร่วมมือด้านการประมงกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ต่อมาสหภาพยุโรปกำหนดแผนปฏิบัติการของตนเองตามกฎระเบียบสหภาพยุโรปที่ No. 1005/2008 เพื่อต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว อาเซียนจะไม่สามารถส่งผลิตภัณฑ์ประมงเข้าสู่ตลาดในสหภาพยุโรปได้ ซึ่งประเทศในอาเซียนต้องมีความร่วมมือกันอย่างมีเอกภาพและมีการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรประมงระดับภูมิภาคอื่น

    

References

ชวนพิศ จันทรวราทิตย์. (2560). แนวทางการดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อป้องกันยับยั้ง และขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม. กรุงเทพฯ: กรมประมง.

_________. (2561). การจัดตั้งนโยบายประมงร่วมอาเซียน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 1/2561. กรุงเทพฯ: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

พวงทอง อ่อนอุระ. (2561). การแก้ไขการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing) ตามหลักการ แนวคิดและบทบัญญัติของตราสารระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ธวัชชัย สุวรรณพาณิช และคณะ. (2560). การศึกษาโครงการปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(1), 12-28.

กรมการประมง. (2558). ประกาศ เรื่อง แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน IUU Fishing พ.ศ. 2558-2562, สืบค้น 9 เมษายน, 2564, จาก http://www.mfa.go.th

ศรัณย์ เพ็ชรพิรุณ. (2549). สมุทรกรณี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2559). อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กับการดำเนินงานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อริยพร โพธิใส. (2560). มาตรการและแนวทางป้องกันปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของประเทศไทยและหลักการสำคัญของ IUU Fishing. วารสารจุลนิติ, 14(4), 149-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

เกษจุโลม เ. (2022). ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการควบคุม การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), A13-A22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255132