การพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุในบริบทสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ปิยปัญญาวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุปรียส์ กาญจนพิศศาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พระภิกษุ, สมณสารูป, การพัฒนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาเหตุที่ทำให้พระภิกษุขาดสมณสารูป และแนวทางในการพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุในบริบทสังคมไทย โดยรวบรวมและวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาจำนวน 8 ท่าน ซึ่งทำให้พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้พระภิกษุขาดสมณสารูปนั้นเกิดจากการที่ตัวของพระภิกษุเองพร้อมทั้งพระภิกษุรูปอื่น ๆ ในสังฆปริมณฑล และพุทธศาสนิกชน ส่วนสาเหตุที่รองลงมาก็คือ การศึกษาของพระภิกษุและสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ในการนี้ ข้อเสนอแนะที่สำคัญที่สุดในการส่งเสริมให้พระภิกษุมีสมณสารูป คือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่กำกับดูแลพระภิกษุควรมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาพระอุปัชฌาย์ให้ถึงพร้อมไปด้วยสมณสารูปทั้งภายในและภายนอกก่อนดำเนินการแต่งตั้ง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุในความดูแลของตน และเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพระวินัย นอกจากนี้ พระอุปัชฌาย์ยังเป็นผู้คอยชี้แนะเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา และคอยให้กำลังใจพระภิกษุในการพัฒนาสมณสารูปอีกด้วย ส่วนข้อเสนอแนะที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ พุทธศาสนิกชนทุกคนควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระวินัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนต่อพระภิกษุได้อย่างเหมาะสม และมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลความประพฤติของพระภิกษุเพื่อแสวงหาแนวทางที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุต่อไป

References

ชาญณรงค์ บุญหนุน. (2559, 20 กันยายน). อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร [บทสัมภาษณ์].

ชินสภเถระ. (2562). พุทธสมบัติ ความลับหลังม่านอนุศาสน์ 8. ปราจีนบุรี: หจก.เจตนารมณ์ภัณฑ์.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2559, 18 กันยายน). ศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [บทสัมภาษณ์].

บุญรอด บุญเกิด. (24 ตุลาคม 2559). อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา [บทสัมภาษณ์].

พระครูภาวนาวิสุทธิคุณ (ชัชวาล ชินสโภ). (5 กันยายน 2559). เจ้าอาวาสวัดพระธรรมจักร [บทสัมภาษณ์].

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๒). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล (2559, 21 กันยายน). เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต [บทสัมภาษณ์].

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี ป.ธ. ๙). พจนานุกรมไทยบาลี. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.palidict.com/dl/VerbBase.pdf

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2559, 20 ตุลาคม). ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [บทสัมภาษณ์].

พระราชปริยัติวิมล (สายัณห์ ปญฺญาวชิโร). (2559, 25 กันยายน). เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด(ธ) [บทสัมภาษณ์].

พระสุชาติ อภิชาโต. (2564). เข้าหาพระแท้. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://fb.watch/5bTmw0MnNe/.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมห์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมภาร พรมทา, ศ. ดร. (2559, 28 พฤศจิกายน). ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพุทธปรัชญา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย [บทสัมภาษณ์].

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2559). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2559, จาก https://dictionary.orst.go.th/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

ปิยปัญญาวงศ์ อ. ., & กาญจนพิศศาล ส. . (2022). การพัฒนาสมณสารูปของพระภิกษุในบริบทสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R330-R348. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255124