บริบทใหม่ของการพัฒนารัฐประศาสนศาสตร์ไทยภายใต้วิถีปกติใหม่
คำสำคัญ:
บริบทใหม่ของการพัฒนา, ปัญญาประดิษฐ์ในรัฐประศาสนศาสตร์ไทย, วิถีปกติใหม่บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ในบริบทใหม่กับการพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินภายใต้วิถีปกติใหม่ รัฐประศาสนศาสตร์ได้มีการพัฒนาทฤษฎีและการปฏิบัติที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางวิทยาการ และเทคโนโลยีมาตามลำดับที่ปรากฏในรูปของกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา หลายประเทศนำไปปรับใช้ในการบริหารกิจการราชการแผ่นดินของตน ปัจจุบันการบริหารราชการแผ่นดินได้ตระหนักถึงความเป็นพลเมืองโลก ธรรมาภิบาลโลก แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ความเป็นประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา รวมทั้งโรคอุบัติใหม่ แนวคิดและหลักการเหล่านี้มิได้ขีดวงจำกัดเฉพาะพลเมืองของประเทศเท่านั้น ยังข้ามประเทศที่คำนึงถึงความเป็นพลเมืองโลก
รัฐประศาสนศาสตร์ไทยควรมีการพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินสี่ส่วนดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง ในทางวิชาการต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรเน้นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติโดยเฉพาะศึกษาเปรียบเทียบกับระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาประเทศ ส่วนที่สอง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล AI ในกระบวนการบริหารราชการแผ่นดินให้มีลักษณะอัตโนมัติ ที่เชื่อมโยงข้อมูลราชการทั้งหมดโดยมีความสามารถในการโต้ตอบระหว่างประชาชนและรัฐบาลได้เสมือนมนุษย์จริงในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ส่วนที่สาม การวิจัยที่มุ่งเน้นการนำผลการวิจัยไปพัฒนาการบริหารมากกว่าการบริหารการพัฒนาดังที่เป็นอยู่ โดยต้องมุ่งสร้างทฤษฎีการบริหารราชการแผ่นดินให้มีธรรมาภิบาลโลก และส่วนที่สี่ การปฏิบัติของหน่วยงานรัฐต้องมีการศึกษา ฝึกอบรม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างองค์การทั้งภาครัฐ เอกชนและระหว่างประเทศ ถ้าสามารถดำเนินงานได้ทั้ง 4 ส่วนจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไทยเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
References
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2559).วิชารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย: การก่อเกิดการขยายตัวและข้อคิดเกี่ยวกับอนาคต.วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 5(1), 198-210.
นิธิสาร พงศ์ปิยะไพบูลย์. (2563). คว้าโอกาสปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 29 กันยายน 2564, จาก https://shorturl.asia/3l1ua
Appleby, P. H. (1949). Policy and administration. Tuscaloosa AL: University of Alablama Press.
Brinkerhoff, D. W.(2008). The State and International Development Management: Shifting Tides,Changing Boundaries, and Future Directions. Public Administration Review, 68(6), 985-1001.
Farazmand, A. (1999). Globalization and Public Administration. Public Administration Review, 59(6), 509-522.
Fayol, H. (1916). “Administration Industrielle et generale”. Bulletin de la Societe de l’Industrie Minerale, fifth series, 10(3), 5-162.
Fitzpatrick, J. et al. (2011). A New Look at Comparative Public Administration: Trend in Research and an Agenda for the Future. Public Administtation Review, 71(6), 821-830.
Goodnow, F. J. (1960). Politics and administration. New York: Macmillan.
Gordon, G. J. (1978). Public Administration in America. New York: St. Martin's Press.
Gulick, L. (1937). "Notes on the Theory of Organization". cited in Gulick, Luther; Urwick, Lyndall (ed). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.
Gulrajani, N. & Moloney K. (2012). Globalizing Public Administration: Today’s Research and Tomorrow’s Agenda. Public Administration Review, 72(1), 78-86.
Henry, N. (1980). Public Administration and Public Affairs. New York: Prentice-Hall.
______. (1975). Public administration and public affairs. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Herndon, W. H. and Welk, J. W. (1892). Abraham Lincoln: The True Story of A Great Life. New York: D. Appleton and Company.
Jreisat, J. E. (2012). Globalism and Comparative Public Administration. New York: CRC Press.
Leiserson, A. & Morstein M. (1959). The Study of Public Administration In Elements of Public Administration, ed.F. Morstein Marx, 23-48. 2nd ed.Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Martinsen, D.S. & Jorgensen, T.B. (2010). Accountability as a Differentiated Value in Supranational Governance. American Review of Public Administration, 40(6), 742-760.
Meier, K. J. (2007). The Public Administration of Politics,or What Political Science could Learn from Public Administration, PS : Poltical Science and Politics, 40(1), 3-9.
Osborne, D. & Gaebler, T. (1992). Reinventing Government. M.A.: Addison-Wesley Publishing.
Perry, J. L. (1996). Measuring Public Service Motivation: An Assessment of Construct Reliability and Validity. Journal of Public Administration Research and Theory, 6(1), 5-22.
Riggs, F.W. (1980). The Ecology and Context of Public Administration: A Comparative Perspective. Public Administration Review, 40(2), 107-115.
Verhoest, K. et al. (2011). Government Agencies: Practices and Lessions from 30 Countries. New York: Palgrave Macmillan.
Wilson, W. (1887). The Study of public administration. Political Science. Quarterly, 1(2), 197-222.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น