คุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิผล การทำงานของบุคลากรในยุคปกติใหม่
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ยุคปกติใหม่, อิทธิบาท 4บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งประเด็นให้องค์กรต่าง ๆ เล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ทั้งในด้านของค่าตอบแทน สภาพการทำงาน และก้าวหน้าในงาน รวมถึงความเสมอภาคในองค์กร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของบุคลากร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและสังคมไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ทั้งด้านการเงิน การงาน การใช้ชีวิตต้องเปลี่ยนไป หลายคนต้องทำงานที่บ้าน ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานในรูปแบบใหม่เช่นนี้ ถูกเรียกว่า ความปกติใหม่ หรือ New Normal การก้าวเข้าสู่ยุคปกติใหม่ ทำให้หลายองค์กรปรับตัวให้เท่าทัน โดยนำหลักอิทธิบาท 4 ที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติทำให้ประสบความสำเร็จมาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน (ฉันทะ) เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจ (วิริยะ) และเกิดความเอาใจใส่ (จิตตะ) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และพัฒนาตนเองให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้เกิดประสิทธิผลการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ปัญญาในการคิดและไตร่ตรองให้รอบครอบ (วิมังสา) เมื่อปฏิบัติครบตามหลักอิทธิบาท 4 ผลสัมฤทธิ์ที่ได้จะช่วยในเรื่องการเพิ่มผลผลิตขององค์กร ปรับปรุงศักยภาพ เพิ่มขวัญและกำลังใจ ตลอดจนเป็นแรงจูงใจในการทำงาน
References
ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2563). การปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์โควิด-19 ตามแนวพุทธศาสน์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 16(2), 60-78.
ธีระพงษ์ ทศวัฒน์. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 40-55.
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน. (2556). สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ. สืบค้น 18 มิถุนายน 2564, จาก https://shorturl.asia/wvUpE
สุพิชญา วงศ์วาสนา. (2564). ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสาร กรณีศึกษา บริษัท บางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 15-30.
อุดม พินธุรักษ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
เอวีแอล ดีไซน์ . (2564). New Normal มีอะไรบ้างที่องค์กรต้องปรับตัว เพื่อก้าวทันยุคใหม่. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564, จาก https://avl.co.th/blogs/new-normal-what-things-do-organizations-need-to-adjust
David, L.E. (1997). Enhancing the quality of working life: developments in the United Stater. International Labor Review. 166, 53-65.
Hoy W. K. & Miskel C. G, (1991). Educational administration: Theory Research and Practice. (4th ed.). Singapore: MCGraw-Hill.
Huse, E. F. & Cumming, T. G. (1985). Organization development and change. Minneapolis: West Publishing.
Oliver, J.P.J. et al. (1996). Quality of life and Mental Health Service. London: Routledge.
Steers, R. M. (1981). Introduction to Organizational Behavior. Glenview: Scott, Foresman and Company.
Walton, R. E. (1973). Quality to working life. Sloan Management Journal, 15(1), 11-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น