การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
ตัวบ่งชี้, สมรรถนะ, การวิจัยทางการศึกษา, ยุคดิจิทัล, หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู 2. เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบ และตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู รวม 600 คน ซึ่งใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ด้วยโปรแกรมลิสเรล และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล มีจำนวนองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1. การกำหนดประเด็นคำถาม 2. การรวบรวมสืบค้น 3. การสรุปองค์ความรู้ 4. การสื่อสาร และนำเสนอ และ 5. การมีจริยธรรม จรรยาบรรณของนักวิจัย 2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล ( =36.62, df= 33, P=0.30, RMSEA=0.01) แสดงว่าองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้มีความตรงเชิงโครงสร้าง ดังนั้นสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาในยุคดิจิทัล สามารถนำมาใช้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และเป็นแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มีสมรรถนะการวิจัยทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
คุรุสภา. (2563). การรับรองประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 53 แห่ง 54 หลักสูตร. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 198-213.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). องค์การแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รัตนไตร.
ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิรชัย กาญจนวาสี. (2559). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: ทรีบีการพิมพ์และตรายาง.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). ปรัชญาวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2574). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). การพัฒนาสมรรถนะของนักวิจัยทางการศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 8(1), 1-9.
สุภมาศ อังศุโชติ และคณะ. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมการศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. (2556). จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2552). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิรภัทร จันทะมงคลและคณะ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานหน้าที่เฉพาะสาขาสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาตามการรับรู้ของอาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 41-59.
หรรษา เศรษฐบุปผาและคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 1-11.
Hutchison K. C. (2007). Identifying Professional Development Needs of Delaware Agriscience Teacher, Delaware: University of Deiaware.
Mclntire, S. A., and Miller, L. A. (2007). Foundations of psychological testing: A practical approach. 2nd ed. Thousand Oaks: Sage Publications.
Mumane, R. and Lavy, F. (1996). Teaching the New Basic Skills: Principles for Educating Children to Thrive in a Changing Economy. New York, NY: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น