ผ้าหมักโคลน: จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
คำสำคัญ:
ผ้าหมักโคลน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาในกระบวนการผลิตผ้าหมักโคลนหนองสูง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตกระบวนการผลิตผ้าหมักโคลน และศึกษาเฉพาะสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมบ้านภู และสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าฝ้ายลายขิตบ้านภู จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอเป็นพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ผ้าหมักโคลนหนองสูง เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาแต่โบราณผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบนั้นเป็นภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้เดิมเกิดจากประสบการณ์และการทดลองและภูมิปัญญาที่มาจากความเชื่อ โดยผู้ผลิตนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตผ้าหมักโคลนตามที่ได้รับการสืบทอดมา จนทำให้ได้ผ้าหมักโคลนหนองสูงมีอัตลักษณ์และเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ด้วยเป็นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการผลิต ส่วนองค์ความรู้ใหม่ที่นำมาผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น พบว่าผู้ผลิตได้จากการอบรมและนำมาดัดแปลงในกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ จึงทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น ส่งผลให้ชุมชนมีอาชีพเสริมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ นับว่าเป็นการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน
References
ผ้าไหมไทย. (2564). การส่งออกผ้าไหมไทย. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://sites.google.com/site/phahimthiy345/kar-sng-xxk-pha-him-thiy
ทรงพล ต่วนเทศ. (2555). การศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายลาวครั่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ทีมงานวิจัยโครงการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้. (2550). การวิจัยการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นรินทิพย์ สิงหะตา. (2564, 5 เมษายน). [บทสัมภาษณ์].
บุญเต็ม นามเหลา. (2564, 5 เมษายน). ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าผ้ายลายขิตบ้านภู หมู่ 1. [บทสัมภาษณ์].
ประเวศ วะสี. (2547). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม ราชบัณฑิตยสถาน.
ผู้จัดการ. (2564). ผ้าหมักโคลน อำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร. สืบค้น 20 มกราคม 2564, จาก https://mgronline.com/smes/detail/9550000142809
พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ และคณะ. (2563). ภูมิปัญญาผ้าหมักโคลน บ้านหนองสูง ตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 171-184.
วนิดา นาคีสังข์. (2559). จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนปวาเก่อญอบ้านแม่กองคาสู่การเป็นสินค้าชุมชน. (ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองสูง. (2564, 9 เมษายน). [บทสัมภาษณ์].
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดมุกดาหาร. (2564, 9 เมษายน). [บทสัมภาษณ์].
สำหรับ งานไว. (2564, 7 เมษายน). ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านภู [บทสัมภาษณ์].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น