รูปแบบการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการ, หน่วยอบรมประชนประจำตำบลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการ และนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชนประจำตำบลของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสนทนากลุ่มเฉพาะร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. มีการคัดเลือกคณะกรรมการตามข้อกำหนด จัดวางคณะทำงานและวางแผนงานอย่างเป็นระบบ และมีพื้นที่สาธารณะคือวัดในการดำเนินกิจกรรม แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขาดงบประมาณสนับสนุน 2. กระบวนการ ได้แก่ จัดทำโครงการเพื่อระดมทุน คัดเลือกหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มาปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการของหน่วย จัดอบรมพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3. รูปแบบการบริหารจัดการประกอบด้วยการประชุมร่วมในการวางแผน โดยคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้ง แล้วนำสู่การปฏิบัติตามแผน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตามแผนที่วางไว้ จึงนำไปสู่การตรวจสอบ เก็บข้อมูลโดยการสังเกต ประเมินความพึงพอใจ จึงนำผลการตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไข การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการติดตามพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายในการควบคุมคุณภาพหรือการบริหารคุณภาพ
References
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยการคณะสงฆ์ และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ฐานิสฺสโร). (2562). การพัฒนาการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุงฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพสิงหวราจารย์ (โสภณ โสภโณ/ยอดคำปา). (2562). การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 2562.
พระมหาก้องไพร สาคโร (เกตุสาคร). (2563). แนวทางการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดอุดรธานี (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุงฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอำนาจ อจฺฉริยเมธี (ดีรัตน์). (2562). การเสริมสร้างความปรองดองเพื่อสังคมสันติสุข โดยพระสังฆาธิการจังหวัดปทุมธานี (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุงฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วาสนา แก้วหล้า. (2563). การนำแผนยุทธศาสตร์การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายในสู่การปฏิบัติของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุงฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น