รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ไพเราะ มีภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กับ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี 4 องค์ประกอบย่อยได้แก่ (1) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ๆ และมีความชัดเจนในวิสัยทัศน์ (2) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (3) ด้านการกระตุ้นให้ยอมรับเป้าหมายของกลุ่ม (4) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ องค์ประกอบหลักที่ 2 วิธีการพัฒนา มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) การอบรม หรือประชุมเชิงปฏิบัติการรูปแบบออนไลน์ (2) การฝึกปฏิบัติโดยการศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (3) การอภิปรายรูปแบบออนไลน์ และ (4) การสนทนาโดยการจับคู่รูปแบบออนไลน์ และองค์ประกอบหลักที่ 3 วิธีดำเนินการ มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) การวางแผน (2) การบริหารจัดการ (3) การดำเนินการ (4) การประเมินผล

References

จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 4930-4931

ชูกิจ ผลทิพย์. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลระยองในทศวรรษหน้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประยุทธ ชูสอน. (2548). พฤติกรรมภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิลัญ ปฏิพิมพาคม. (2550). รูปแบบภาวะผู้นำและประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. (2560, 8 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 221 ง. หน้า 40-41.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2551). การศึกษาการบังคับใช้. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ.

วีระวัฒน์ ดวงใจ. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

หงษ์เพชร ทองอินทร์. (2554). การศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของรัฐในจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Bass, B. M. & Avolio. (1994). Transformation Leadership Development. California: Consulting Psychologists press.

Kotter. (1990). The Leadership Challenge. (3rd ed). San Fracisc: Jossey-Bass.

Yukl, G. (1995). Leadership in Organizations. (3rd ed). New Jersey: Prentice-Hill, Gate wood D.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

มีภักดี ไ. (2022). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 69–81. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254254