การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, หลักพุทธธรรม.บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุในปัจจุบันมี 542 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เน้นการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังในการพัฒนาสังคม ในปัจจุบันสังคมไทยยอมรับความสามารถของผู้สูงอายุมากขึ้นโดยมองว่าผู้สูงอายุคือขุมทรัพย์ของสังคมมิใช่เป็นคนแก่ที่ไร้ค่า การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องจิตใจของผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีทัศนคติในการดำรงชีวิตที่ดีซึ่งแสดงออกถึงความมั่นคงทางจิตใจ
การถ่ายทอดพลังทางปัญญาของผู้สูงอายุย่อมอ่อนแรงไปตามอายุขัยสืบเนื่องมาจากกฎของธรรมชาติความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสรรพสิ่ง ในทางพระพุทธศาสนามีแนวคิดให้บุคคลรู้เท่าทันความเป็นไปของสังขารด้วยปัญญาเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิต คือ การพิจารณาไตรลักษณ์อันเป็นคำสอนสากลที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ยั่งยืนของทุกสิ่งทุกอย่างแล้วบริหารขันธ์ รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเพื่อประโยชน์ทางด้านการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บแล้วจึงเจริญสติปัฏฐาน 4 คือ การฝึกอบรมทางด้านจิตใจให้มีความตั้งมั่น เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ใจมีอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ ด้วยเหตุนี้ผู้สูงอายุย่อมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขกายสบายใจ ถึงแม้จะเป็นยุคโควิด-19 อย่างเช่นในยุคปัจจุบัน
References
คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน. (2550). รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทยจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน. (2551). รายงานคุณภาพชีวิตของ คนไทยจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ. (2536). การพยาบาลผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฎฐ์ รุ่งวงษ์. (2563). การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่พอเพียงในวัยเกษียณ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 55-61.
ดุษณี สุทธปรียาศรี. (2542). ทักษะชีวิตการค้นพบตนเองด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประยูร เจนตระกูลโรจน์. (2562). ผู้สูงอายุ : ดูแลอย่างไรให้แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 44-53.
ประเวศ วะสี. (2549). พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสพัฒนาใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). พุทธศาสน์กับชาติไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2562). การวิจัยและพัฒนาศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่ตั้งในพุทธสถาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 1-14.
พระมหาบำรุง ธมฺมเสฏฺโฐ. (2563). การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 1-13.
พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร. (2564). คุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(2), 31-41.
พุทธทาสภิกขุ. (2435). ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พูนสุข เวชวิฐาน. (2545). การประเมินคุณภาพชีวิตครอบครัว. เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์/ครอบครัว หน่วยที่ 12. นนทบุรี: สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2542). การสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2553). การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. วารสารรามคำแหง, 27(3), 145-153.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2556). แผนกลยุทธ์ปี พ.ศ.2556–2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.
สุจินต์ ปรีชาสามารถ. (2535). สุขภาพจิตเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2541). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุภัทรชัย สีสะใบและคณะ. (2562). ถอดบทเรียนจากพื้นที่ : การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 149-170.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์/การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
อภิชัย มงคล และคณะ. (2544). ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยระดับบุคคล. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น