รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ ของพระสงฆ์ในจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาวะ, ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์, จังหวัดราชบุรีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน กระบวนการ และนำเสนอรูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ของพระสงฆ์ในจังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสนทนากลุ่มเฉพาะร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูปหรือคน ใช้แบบสนทนากลุ่มเฉพาะเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่หรืออยู่ในพื้นที่มานานจึงรับรู้และเข้าใจปัญหาทางสุขภาวะของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างดี 2. พระสงฆ์ได้ดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนครอบคลุมทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญา เป็นต้น ด้านสมาธิ ได้แก่ พระสงฆ์ได้ส่งเสริมให้ประชาชนควบคุมสติอารมณ์ในการดำเนินชีวิตซึ่งสอดคล้องกับหลักการสร้างสุขภาวะทางจิต เป็นต้น และด้านปัญญา ได้แก่ พระสงฆ์ได้อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ประชาชนโดยมุ่งยกระดับทางปัญญาเพื่อใช้เป็นแกนหลักในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวม 3. รูปแบบของการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาทางสุขภาวะของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ โดยใช้จุดแข็งไปผลักดันโอกาส ใช้โอกาสลดจุดอ่อน ใช้จุดแข็งรับมืออุปสรรค และแก้ไขจุดอ่อนพร้อมกับหลีกเลี่ยงอุปสรรค โดยครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน
References
กาญจนา ร้อยนาค และคณะ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของประชากรตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี (รายงานการวิจัย). ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.
จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2548). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล. นนทบุรี: บริษัทธนาเพรส จำกัด.
เดชา บัวเทศ. (2553). สุขภาพพระสงฆ์: รูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในภาคกลางตอนบน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ และคณะ. (2553). กระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพเพื่อสรรค์สร้างความเข้มแข็งแห่งสุขภาวะของชุมชน: กรณีตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ไทยมณี ไชยฤทธิ์. (2557). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรมเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธนพชร นุตสาระและคณะ. (2559). วิถีชีวิตการดำรงอยู่วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนวัฒน์ พิมลจินดา. (2556). บทเรียนจากความล้มเหลวในการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 24.
ประเวศ วะสี. (2541). ประชาคมตำบล: ยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงศีลธรรมและสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
________. (2548). การจัดการความรู้: กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพเสรีภาพ และความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
พระกิตติญาณเมธี (สมเกียรติ ภูริปุญฺโญ). (2560). การส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดลพบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พระครูนิวิฐศีลขันธ์ (ณรงค์ ฐิตวฑฺฒโน). (2557). รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 117-130.
วิชญาภา เมธีวรฉัตร. (2557). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สม จะเปา. (2560). การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, 8(2), 70.
สมพันธ์ เตชะอธิก และวินัย วงศ์อาสา. (2555). สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 29(2), 1.
อุ่นเอื้อ สิงห์คำ. (2557). กระบวนการและผลของการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น