การพัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางพหุวัฒนธรรม กับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ผู้แต่ง

  • รัตติยา เหนืออำนาจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อัครเดช พรหมกัลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาไฮ้ ธมฺมเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์, พหุวัฒนธรรม, การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสนอแนวปฏิบัติในการพัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางสังคมพหุวัฒนธรรมกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แกนนำในระดับชุมชนและระดับนโยบาย 96 รูป/คน และการจัดกิจกรรม ด้วยเทคนิค A-I-C และประเมินผลด้วยเทคนิค AAR

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางสังคมพหุวัฒนธรรมกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติจะต้องดำเนินการใน 5 มิติ คือ 1) การป้องกันการเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน 2) การสร้างความเสมอภาค เท่าเทียม ยุติธรรม และเป็นธรรม 3) การสร้างความสามัคคี 4) การส่งเสริมความซื่อสัตย์ ซื่อตรง จริงใจ และเสียสละ 5) การสนับสนุนการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างแต่ไม่แตกแยก และ 2. แนวปฏิบัติควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้คนประพฤติปฏิบัติตามหลักบัญญัติ 10 ประการ คือ 1) การยึดมั่นในคำสอนของศาสนา 2) การเห็นคุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 3) การยอมรับและเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล 4) การเคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น 5) การมีความเสมอภาคและความยุติธรรม 6) การยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ 7) การมีจิตสำนึก จิตอาสา และจิตสาธารณะ 8) การรู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ 9) การมีวิจารณญาณในพูดและการแสดงความคิดเห็น และ 10) การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

References

จุฑาทิพย์ ภัทราวาท. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระมหานภดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. (2560). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์.

พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโมและคณะ. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 46-59.

พระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว). (2563). วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาครัฐ เครือข่ายทางสังคม และองค์กรชุมชนกับการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน. วารสารวิจยวิชาการ, 3(3), 1-12.

ลำพอง กลมกูล. (2561). พหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของจีนและมลายู: กรณีศึกษาประเทศบรูไน. วารสารโพธิวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2(2), 76-90.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2550). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

วาสนา พิทักษ์ธรรม และคณะ. (2559). การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขที่ยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลกระโด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

Filley, A. C. (1975). Interpersonal Conflict Resolution. Glenview, Illinois: Scott Foresman.

Galtung, J. (1996). Peace by Peaceful Means: Peace and Conflict, Development and Civilization. London: SAGE Publications Ltd.

Shaffer, L. F., & Shoben, E. J. (1965). The Psychology of Adjustment. Boston: Houghton Miffin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-24