ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการวงดนตรีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ โพธิรุกข์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดารัตน์ สารสว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พร้อมพิไล บัวสุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การบริหารจัดการ, วงดนตรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการวงดนตรีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการวงดนตรีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ประชากรที่ใช้ คือ ครูผู้เกี่ยวข้องกับวงดนตรี จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่เป็นจริงเท่ากับ 0.899 และค่าความเชื่อมั่นสภาพที่คาดหวัง เท่ากับ 0.817 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเรียงลำดับความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า เมื่อวิเคราะห์และจัดอันดับความต้องการจำเป็นรายด้านพบว่า ด้านอุปกรณ์และอาคารสถานที่ มีค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) สูงที่สุด (0.60) เมื่อพิจารณาลำดับความต้องการจำเป็นรายข้อ พบว่า มีการสนับสนุนการระดมทุนเพื่อจัดหาเครื่องดนตรีที่มีคุณภาพ มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.60 เป็นลำดับที่ 1 รองลงมา คือ ผู้บริหารมีส่วนร่วมในประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักเรียนเข้าเป็นสมาชิกวงดนตรี ส่วนแนวทางในการบริหารจัดการวงดนตรี คือ มีคณะกรรมการจัดการวงดนตรีโดยเฉพาะ และการเพิ่มการมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหารของโรงเรียนเพื่อให้ทางโรงเรียนเข้าใจปัญหาในการดำเนินงานทั้งในเรื่องงบประมาณ อุปกรณ์ สถานที่ และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวงดนตรีให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้สนใจภายนอกที่จะเข้าร่วมหรือสนับสนุนวงดนตรีต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

________. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ลำเพย เย็นมนัส. (2553). ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหาร แบบมีส่วนร่วม ในยุคปฏิรูปการศึกษา. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2564, จาก http://phrakhaoschool.com/news-detail_7962_57832

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี หน้าที่ ประเด็นและบทวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุจน์

วิโรจน์ ตระการวิจิตร. (2559). สมองดี ดนตรีปั้นได้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ดีเอ็มจี.

สราวุธ โรจนศิริ. (2564). การศึกษารูปแบบการจัดการวงโยธวาทิต กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 115-129.

สวัสดิ์ บุญทิพย์พาเลิศ, (2557) โอกาสความเป็นไปได้ของการจัดตั้งวงโยธวาทิตสำหรับโรงเรียนในกลุ่มกรุงเทพกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สาทิตย์ สายสนิท. (2560). การบริหารจัดการวงโยธวาทิตโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อัครวัตร เชื่อมกลาง. (2561). แนวทางการพัฒนาวงโยธวาทิตไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(55), 212-231.

Carver, J. (2019). An Investigation into the Musical and Social Benefits of High School Marching Band Participation. (Electronic Thesis or Dissertation). Retrieved from https://etd.ohiolink.edu/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-19

How to Cite

โพธิรุกข์ ย., สารสว่าง ส. ., & บัวสุวรรณ พ. . (2021). ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการวงดนตรีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 257–270. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253867