รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์แห่งชาติ ของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • พระปลัดทัศนพล เขมจาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ, การบริการจัดการสุขภาพ, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 395 รูป เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1.ด้านระบบบริหาร สร้างระบบการเรียนรู้เพื่อสร้างบุคลากรให้ความรู้เท่าทัน  ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ 2. ด้านกำลังคนด้านสุขภาพ มีการส่งเสริมพระสงฆ์ภายในวัดของท่านที่มีความรู้ ความเข้าใจในระบบบริการสาธารณสุข 3. ด้านข้อมูลข่าวสาร มีการจัดการระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี  4. ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีการสนับสนุนให้พระคิลานุปัฏฐากมีความรู้ 5. ด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ มีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ   6. ด้านภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล มีการเปิดกว้างให้สังคมและชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะ 7. ด้านระบบสุขภาพชุมชน มีการประสานงานเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสังคม รวมถึงเครือข่ายองค์กรทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ

References

ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์. (2556). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับพระสงฆ์. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 3(3), 8.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร. (2564). คุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรม, 4(2), 46-60.

พระราชสิทธิเวที (วิรัช วิโรจโน). (2562). การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 15-16.

พระเอกลักษณ์ อชิตโตและคณะ. (2564). เครือข่ายพระสงฆ์สาธารณะสงเคราะห์ของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย: กับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(2), 57-68.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. นนทบุรี: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

How to Cite

เขมจาโร พ. ., (กำพล คุณงฺกโร) พ., & พุทฺธิสาโร พ. (2022). รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์แห่งชาติ ของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 280–290. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253818