การกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • ภูมิ มูลศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

มูลเหตุจูงใจทางการเมือง, ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน, การอำนวยความยุติธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. รับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ชุมนุมผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและนักการเมืองที่เกี่ยวข้องในสาระสำคัญของการนิยามคำว่า “การกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง” 2. กำหนดนิยามคำว่า “การกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง” เพื่อเป็นรากฐานในการดำเนินการสร้างความปรองดอง และ 3. เสริมสร้างบรรยากาศแห่งความเอื้ออาทรกันในสังคม โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) รวมถึงมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนา

ผลจากการศึกษาพบว่า คำว่ามูลเหตุจูงใจทางการเมืองนั้นไม่มีนิยามที่ชัดเจนแน่นอน อย่างไรก็ตามอาจนิยามหมายถึง การกระทำที่มีพื้นฐานมาจากความคิดที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองหรือต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งหรือเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง สำหรับการสร้างบรรยากาศแห่งความเอื้ออาทรกันในสังคมควรดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยหลักการสำคัญในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดองสำหรับประเทศไทยได้แก่ การอำนวยความยุติธรรมโดยแยกการกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองออกจากการกระทำความผิดอาญาโดยทั่วไปเพื่อการนิรโทษกรรมตามหลักสากล

References

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.). (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.). กรกฎาคม 2553 - กรกฎาคม 2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

สถาบันพระปกเกล้า. (2556). รายงานการวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระปฏิรูปพิเศษ 15: แนวทางการสร้างความปรองดอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ณวัฒน์ ศรีปัดถา. (2556). ลักษณะบางประการเกี่ยวกับกฎหมายนิรโทษกรรมในประเทศไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(1), 57-91.

Bloomfield, D. (2003). Reconciliation: An Introduction in Reconciliation after Violent Conflicts: A Handbook. Stockholm: International Institute for Democracy and Electoral Assistance.

Hayner, P.B. (2011). Unspeakable truths: Transitional justice and the challenge of truth commissions. New York: Routledge.

Mohammed, A. (2001). Reconciliation, Justice, and Coexistence: Theory and Practice. Maryland: Lexington Books.

Olsen, T.D., et al. (2010). Transitional Justice in Balance: Comparing processes, weighing efficacy. Washington D.C.: United States Institute of Peace Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-24

How to Cite

มูลศิลป์ ภ. (2022). การกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 89–100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253807