การพัฒนาการบริหารจัดการเสนาสนะของวัด ตามมาตรฐานสุขาภิบาลจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระมหาอัครวัฒน์ กิตฺติญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาการบริหารจัดการ, เสนาสนะของวัด, มาตรฐานสุขาภิบาล, จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไป กระบวนการ และ นำเสนอการพัฒนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน จากแบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 192 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.994  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการเสนาสนะของวัด พบว่าเจ้าอาวาสร่วมกับกรรมการวัด ไวยาวัจกรวัดและผู้นำชุมชน ตัดสินใจในการบริหารจัดการวัดกันเอง เน้นเรื่องสัปปายะเป็นหลัก ไม่เน้นเรื่องมาตรฐานสุขาภิบาลด้านที่อยู่อาศัยเท่าที่ควร 2. กระบวนการบริหารจัดการเสนาสนะของวัด ตามมาตรฐานสุขาภิบาลจังหวัดชัยภูมิตามหลัก PDCA พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.21, S.D. = 0.657) 3) การพัฒนาการบริหารจัดการ ได้แก่ สร้างที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จัดสร้างให้เป็นสัดส่วน คำนึงถึงความสะอาดความสงบเรียบร้อย มีการแบ่งเขตที่อยู่อาศัยให้ชัดเจน เช่นมีเขตพุทธาวาส ธรรมมาวาส สังฆาวาส เป็นต้น มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม มีความสะอาด มีความสะดวกสบายต่อการใช้เสนาสนะนั้น

References

กฤษณพงศ์ ฟองสินสุ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ (รายงานการวิจัย). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

จามร ช้างมงคล. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดเวฬุวนาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 10-19.

พระครูปลัดปรีชา จิรนาโค (บัวผัด). (2558). รูปแบบการจัดการสาธารณูปการของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 14 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีรภัทร์ นาถสีโล. (2564). การบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธา ของประชาชน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(2), 18-29.

พระมารุต กิตฺติปาโล. (2564). บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 18-27.

พระอนพัทย์ ฐิตธมฺโม. (2564). การส่งเสริมความสมานฉันท์ตามแนวพระพุทธศาสนาสำหรับชุมชน ของวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 22-31.

พระเอกลักษณ์ อชิตโตและคณะ. (2564). เครือข่ายพระสงฆ์สาธารณะสงเคราะห์ของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย: กับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(2), 57-68.

สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ. (2563). แบบสำรวจภารกิจและแบบตรวจการคณะสงฆ์. ชัยภูมิ: สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-24