พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป การพัฒนาและนำเสนอพุทธบูรณาการ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยในการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า 1. คณะสงฆ์มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ แต่มีปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรสงคราม ตามหลักภาวนา 4 พบว่า ครอบคลุมกระบวนการพัฒนากาย ศีล จิต และปัญญา 3. พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า เป็นรูปแบบของความร่วมมือของเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักภาวนา 4 ครอบคลุมองค์ประกอบชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 7 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและการมีรายได้ ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านบริการสังคม และด้านนันทนาการ

References

จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2548). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. นนทบุรี: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา. (2562). กระบวนการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เฉลียว รอดเขียว และคณะ. (2549). การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชุมชนตลาดวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธวัลรัตน์ แดงหาญ. (2562). รูปแบบการใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บานชื่น นักการเรียน และคณะ. (2559). รูปแบบการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตามหลักวุฒิธรรม 4 สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 9(2), 24.

บำรุง สุขพรรณ์. (2558). การรับข่าวสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากสื่อมวลชนของพระสังฆาธิการ เพื่อยกระดับสถานภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระฐิตะวงษ์ อนุตฺตโร และคณะ. (2553). คุณภาพชีวิตของประชาชนไทยที่มีต่อการดำรงชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

พระมหาจิตนเรศ วุฑฺฒิธมฺโม. (2562). การจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุและผุ้ทุพพลภาพของชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร. (2564). คุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(2), 31-41.

พระราเชนทร์ วิสารโท. (2562). บูรณาการพุทธธรรมกับระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุวัฒน์ อภิวฑฺฒโน. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชน วัดหนองไม้เหลือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 37-46.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรปรัชญ์ คำพงษ์. (2557). การประยุกต์หลักพุทธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสงคราม. (2563). สารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์. สืบค้น 5 มกราคม 2563, จาก http:// contentcenter.prd.go.th

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิทยาการผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊พ.

เสาวนีย์ ไชยกุล และคณะ. (2562). การศึกษาองค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัดในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

How to Cite

(บุญเลิศ เตชปุญฺโญ) พ. ., พุทฺธิสาโร พ. ., & กิตฺติโสภโณ พ. (2022). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 124–138. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253746