รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของวัดในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูพิทักษ์ศิลปาคม (นุชิต วชิรวุฑฺโฒ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิกร ศรีราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการและนำเสนอรูปแบบ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยในการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า 1. วัดมีต้นทุนทางเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนที่เข้มแข็งและเด่นชัด แต่พระสงฆ์บางรูปยังขาดความรู้ที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2. กระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ การจัดทำแผนโดยเน้นการมีส่วนร่วม การกำหนดบทบาทหน้าที่ประจำในแต่ละตำแหน่งงานภายในวัดให้ชัดเจน การสร้างอาชีพและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน การหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในทุกกรณี การหมั่นตรวจตราการปฏิบัติงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ เป็นต้น 3. รูปแบบการบริหารจัดการ ได้แก่ การใช้มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุมาเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเดินทางโดยจัดเป็นแผนที่เส้นทางการเดินรถไว้ในเว็บแพจของวัด การอำนวยความสะดวกโดยจัดให้มีร้านค้าอาหาร เครื่องดื่ม และของที่ระลึก การจัดให้มีระบบบริการข้อมูลการท่องเที่ยวของวัด เป็นต้น

References

กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 80-87.

กัลยรัศมิ์ ทิณรัตน์และคณะ. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบ้านโคกก่องตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาญจนบุรี.

จริยา มหายศนันทน์. (2558). การพัฒนาบทบาทและหน้าที่ในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จามร ช้างมงคล. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดเวฬุวนาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 10-19.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2548). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ณรงค์ จันทรัศมี. (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการกิจการสาธารณะด้วยหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุณรดา กรรณสูต. (2558). การประยุกต์รูปแบบการบริหารเชิงพุทธของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรศิริ วิรุณพันธ์. (2551). การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่นต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา : วัดพระธาตุเรืองรอง (รายงานการวิจัย). ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร. (2558). การบริหารจัดการด้านสาธารณูปการตามหลักพุทธธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมชาย สุขาวหโน. (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 9 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัศมี อ่อนปรีดา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดราชบุรี และสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วีระ บำรุงรักษ์. (2540). ระบบการบริหารจัดการวัฒนธรรมสำหรับสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สมศักดิ์ คล้ายสังข์. (2549). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเยาวราช ศึกษากรณี : เทศการกินเจ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สามารถ จันทร์สูรย์ และประทีป อินแสง. (2541). การศึกษากับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุพัตรา สุภาพ. (2541). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม : ครอบครัว : ศาสนา : ประเพณี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2556). แนวทางการสร้างและจัดการอัตลักษณ์สำหรับขนมไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อาภารัศมี บรรเจิดจรัสเลิศ. (2564). การจัดการงานสาธารณตามแนวพระพุทธศาสนา ขององค์กรการกุศลในจังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 1-9.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination in the Future. Tourism Management, 1(21), 97-116.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-24

How to Cite

(นุชิต วชิรวุฑฺโฒ) พ. ., (กำพล คุณงฺกโร) พ., & ศรีราช น. . (2022). รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของวัดในจังหวัดราชบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 180–196. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253745