กลยุทธ์การบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่มีผลงานดีเด่นของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, สำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไป ถอดบทเรียนและนำเสนอกลยุทธ์การบริหารจัดการสำนักศาสนศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 190 รูป เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์ กับการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จังหวัดสมุทรปราการมีกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง มีที่พักสำหรับนักเรียนและครูสอนเพียงพอ มีอาคารเรียนพร้อมและเพียงพอต่อการจัดการศึกษา มีครูสอนที่เป็นเปรียญเอกจำนวนมาก และมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาไม่มาก 2. มีการบริหารงานตามหลัก POSDC คือ มีการจัดการวางแผนอย่างต่อเนื่อง การจัดองค์กรไม่ให้ซับซ้อน คัดเลือกผู้มีความรู้ตรงตาม มีการมอบหมายงานตรงกับความสามารถ พัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน 3. กลยุทธ์การบริหาร ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาตำราให้เรียนรู้ได้ง่าย การพัฒนาสื่อการสอน การส่งเสริมให้ครูสอนพัฒนาการศึกษาของตนให้สูงขึ้น การคัดเลือกครูสอนที่มีความรู้ความสามารถ การสร้างขวัญกำลังใจให้ครูสอน และการยกย่องเชิดชูครูสอนในฐานครุฐานียะ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
นพรัตน์ เบญจวัฒนานนท์. (2558). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งซาติ.
พระครูวิสุทธิ์ธรรมานุวัตร (สมเกียรติ วิสุทฺโธ). (2561). รูปแบบการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอนุกูลสุตกิจ (สุเทพ สุเทโว). (2561). การศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปิยปราชญ์ อาจารสุโภ. (2561). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 1(2), 1-11.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการเชิงพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากำพล คุณงฺกโร. (2558). การบริหารจัดการสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานิกร ฐานุตฺตโร (ศรีราช). (2561). ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวริทริ์ชาการ วชิรสิทธิเมธี. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(1), 11-19.
พระสุวรรณ ธมฺมาวุโธ (เลิศสมาจาร). (2561). การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุวัตน์ วชิโร (อาษาสิงห์). (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของเจ้าของสำนักศาสนาศึกษาแผนกธรรม-บาลี จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ. (2562). สถิติพระภิกษุสามเณรขอเข้าสอบบาลีจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2562. สมุทรปราการ: สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น