ความเหลื่อมล้ำเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย
คำสำคัญ:
ความเหลื่อมล้ำ, อุปสรรค, การพัฒนาประชาธิปไตยบทคัดย่อ
ปัจจุบันเป็นยุคแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อก้าวสู่สภาวการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่มีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ที่เรียกว่าอยู่ในยุค AI (Artificial Intelligence) เช่น เดียวกับระเวลาของการพัฒนาประชาธิปไตยของกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในส่วนของประเทศไทยปัจจุบันยังมีการเรียกร้องหาความเป็นธรรมเพื่อก้าวสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จากหลายๆ องค์กร ความเหลื่อมล้ำ (Inequality) เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาฯ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายถึงความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาฯ ที่เป็นหัวใจสำคัญในการก้าวสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มิติของความเหลื่อมล้ำเป็นตัวบ่งชี้ถึงความไม่เท่าเทียมกันซึ่งมาจากกลุ่มผู้มีอำนาจ รวมถึงภาครัฐที่เป็นบ่อเกิดของทุนนิยม ที่นำไปสู่การมีอำนาจต่อรองของกลุ่มอิทธิพล ภาคประชาสังคมที่อ่อนแอก็จะเสียโอกาสหมดอำนาจต่อรอง ซึ่งนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจปิดหนทางก้าวสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
References
ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์. (2019). ตีแผ่ปัญหาเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเป็นไปได้แค่ไหนจะลดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวย. สืบค้น 22 มิถุนายน 2563, จากwww.bot.or.th/thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/Inequality 2GinCoefficent.PDF
ถวิลวดี บุรีกุล. (2562). ประชาธิปไตยเพศภาวะ : การเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศในทางการเมืองในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ความเหลื่อมล้ำในเอเชีย “วิกฤต” “สิงคโปร์-อินเดีย”. สืบค้น 22 มิถุนายน 2562, จาก www.prachachat.net
ประเวศ วะสี. (2562). โครงสร้างอำนาจรัฐสู่สังคมสมานุภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
วุฒิสาร ตันไชย. (2562). ก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำ : ความท้าทายของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
Warwick, B. L. (2019). Social inequality. London: Sage
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น