ตำนานกับพิธีกรรมในการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนในเทือกเขาภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อัษฎาวุฒิ ศรีทน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุมารินทร์ ตุลารักษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรม, ตำนานและพิธีกรรม, บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นการศึกษาตำนานกับพิธีกรรมในการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมในชุมชนในเทือกเขาภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาตำนานและพิธีกรรมในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น 2. เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ใช้แนวคิดทางด้านคติชนวิทยาในการเก็บเรื่องเล่า ตำนาน และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กับแนวคิดการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรมในตำนานและประเพณีพิธีกรรมในชุมชนที่จัดขึ้น โดยการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมตามแนวคิดและทฤษฎี

ผลการศึกษาพบว่าการดำรงชีวิตในชุมชนเทือกเขาภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ได้มีการสื่อสารความหมายผ่านข้อตกลงทางทุนวัฒนธรรมที่ได้มีการกำหนดขึ้นในชุมชนอย่างเหมาะสม เพื่อให้เป็นกฎระเบียบและจารีตของชุมชน รวมทั้งสอดแทรกคุณค่าและคุณธรรมในการดำรงชีวิต ส่วนการสื่อสารทางวัฒนธรรมจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นคนในชุมชนให้เกิดความตระหนัก ที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติในชุมชนและเพื่อให้ลดผลกระทบและความขัดแย้งเรื่องทรัพยากรธรรมภายในชุมชนที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติต่อรองเชิงอำนาจโดยแสดงให้คุณค่าผ่านตำนานและพิธีกรรมของชุมชน

References

กิมซัว เชื้อคำเพ็ง. (2563, 23 ธันวาคม). อุบาสิกาวัดนายมวราราม บ้านเมืองใหม่ อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2543). การศึกษานิทานพื้นบ้านรูปแบบมุขปาฐะ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้าน. มหาสารคาม: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาสารคาม.

จิรพงษ์ คำขวา. (2563, 5 พฤศจิกายน). ช่างบายศรีบ้านเมืองเก่า อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2541). ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เฉลียว สุริยมาตย์. (2556). ภูเวียงเมืองประวัติศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์.

ชื่น ศรีสวัสดิ์. (2555). ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจคณะคณะบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ดลดนัย ศิริโคตร. (2563, 10 พฤศจิกายน). บ้านดอนหัน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2529). การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจการเมืองสังคมและวัฒนธรรมในหมู่บ้านอีสาน. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรมินท์ จารุวร. (2556). “ภาพลักษณ์ “หมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว” จากวิธีคิดในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในงานประเพณีเทศน์มหาชาติ”. วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 42(2), 133-168.

พระครูสุตธรรมานุกูล (ทอมสัน ป.ธ.3, ดร.). (2563, 20 ธันวาคม). เจ้าคณะอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

พระสุบรรณ สิริธโร. (2564, 05 เมษายน). วัดถ้ำผาเกิ้ง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

พระอาจารย์นาวิน อนาลโย. (2563, 23 ธันวาคม). เลขาเจ้าคณะอำเภอภูเวียง อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

พระอาจารย์หลวงวัฒโณ. (2564, 15 มกราคม). วัดจันทราราม บ้านเมืองเก่า อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น อดีตพระลูกวัดทรงศิลา (ถ้ำกวาง) [บทสัมภาษณ์].

วิศาล อเนกเวียง. (2564, 15 มกราคม). บ้านดอนหัน ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2546). ชุดโครงการความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). "คติชนสร้างสรรค์" บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สวัสดิ์ ศรีทน. (2564, 15 มกราคม). บ้านหนองแวง ตำบลเขาน้อย อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

สุรชัย หวันแก้ว. (2540). การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนุชิต สิงห์สุวรรณ. (2557). การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนอย่างยั่งยืน วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. นครพนม: คณะศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-19