การใช้หลักธรรมาภิบาลของราชการเพื่อการปกครองส่วนภูมิภาค ในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
หลักธรรมาภิบาล, การบริหารองค์กร, การปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการการปกครองส่วนภูมิภาคเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการการปกครองส่วนภูมิภาค และเสนอแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการการปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน
ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการการปกครองส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ คือ หลักเปิดเผย/โปร่งใสโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 หลักความพร้อมรับผิดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 หลักประสิทธิภาพ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 หลักคุณธรรม/จริยธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 หลักประสิทธิผลโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 หลักการกระจายอำนาจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 หลักการมีส่วนร่วม/การพยายามแสวงหาฉันทามติ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 หลักความเสมอภาคโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 หลักการตอบสนองโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และหลักนิติธรรมโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาจากระบบอุปถัมภ์ในองค์การ ปัญหาด้านการขาดแคลนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ ปัญหาด้านการกระจายอำนาจ ปัญหาด้านโครงสร้างและปัญหาด้านสถานที่
References
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 45 ก. หน้า 15-17.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 15-24.
วรพจน์ ทรัพย์สุนทรกุล. (2548). การดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ของพนักงานเทศบาล : ศึกษากรณีเทศบาลในจังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สามารถ อินตามูล. (2548). การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิทธิชัย รุ่งศรีทอง. (2551). ความสำเร็จในการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสกสรรค์ นิสัยกล้า. (2550). การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ: กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Gonzales, E. T. (2004). Impact of Corporate Governance on Productivity: Asian Experience. New York: Asian Productivity Organization.
Gonzales, E. T., & Mendoza, M.L. (2001). Linkages Between Governance and Productivity. Retrieved September 8, 2013, from http://www.dap.edu.ph/?page_id=39
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น