การวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยโมเดล DINA

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ชุตินันทกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปุริมปรัชญ์ คณิณพศุตย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การวินิจฉัยทางพุทธิปัญญา, โมเดล DINA, การประเมินเชิงวินิจฉัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบด้วยทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบข้อสอบ 2) เพื่อวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชด้วยโมเดล DINA 3) เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากผลการวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาเกี่ยวกับสาเหตุการไม่รอบรู้ของนักศึกษา และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ข้อมูลที่ใช้คือ ผลการสอบภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 6 ชุดวิชา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ โมเดล DINA และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบมีความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.77 – 0.85 และจำนวนข้อสอบที่ยากและยากมากที่วิเคราะห์ด้วยทฤษฎีการตอบข้อสอบมีจำนวนข้อสอบที่ยากและยากมาก มากกว่าการวิเคราะห์ข้อสอบด้วยทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม 2) มี 5 ชุดวิชาที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่รอบรู้ทุกหน่วย และความน่าจะเป็นของความรอบรู้รายหน่วยในเล่มแรกจะสูงกว่าเล่มที่สอง 3) ชุดวิชาที่เป็นการคำนวณที่มีสูตรและสัญลักษณ์มากจะยาก ส่วนชุดวิชาที่เป็นการบรรยายเนื้อหาแต่ละหน่วยมาจากหลายๆ เรื่องที่ไม่ได้เชื่อมโยงกัน 4) มหาวิทยาลัยควรกำหนดนโยบายสนับสนุนงบประมาณให้ความช่วยเหลือนักศึกษาด้านการเรียนการสอนในชุดวิชาที่ยาก เนื้อหาที่เป็นการคำนวณ ควรใช้ภาพประกอบ ส่วนเนื้อหาที่ยากซับซ้อน ควรจัดทำสรุปประเด็นสำคัญท้ายหน่วยหรือตอน ให้ทำกิจกรรมเก็บคะแนนในชุดวิชาที่ยาก และจัดทำคลิปวิดีโอแบ่งเป็นตอนสั้นๆ คัดเลือกผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหาและเทคนิคการสอน และออกแบบการวัดและประเมินผลในชุดวิชาที่ยากให้หลากหลายวิธี

References

บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และคณะ. (2538). รายงานการวิจัยสถาบัน เรื่อง การวิเคราะห์สาเหตุการลาออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory) (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สังวรณ์ งัดกระโทกและคณะ. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง การวินิจฉัยผลการทดสอบระดับชาติและข้อเสนอเชิงนโยบายในการใช้ผลการทดสอบระดับชาติเพื่อพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Torre, J. (2009). DINA Model and Parameter Estimation: A Didactic. Journal of Educational and Behavioral Statistics, 34, 115-130.

Rupp, A. A. et al. (2010). Diagnostic Measurement: Theory, Methods and Applications. New York: The Guilford Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

How to Cite

ชุตินันทกุล ศ. ., & คณิณพศุตย์ ป. (2021). การวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยโมเดล DINA. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 185–197. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/251348