มาตรการทางกฎหมายในการจัดทำและควบคุมการขนส่งมวลชน ด้วยรถไฟฟ้าในเมือง
คำสำคัญ:
การขนส่งมวลชน, รถไฟฟ้า, มาตรการทางกฎหมายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดทำและควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมืองและศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดทำและควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าในเมืองของประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาข้อมูลจากเอกสารเป็นหลัก
จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการเดินรถไฟฟ้าในเขตเมือง 3 หน่วยงาน ได้แก่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน), และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยแต่ละหน่วยงาน มีหลักเกณฑ์ในการจัดทำและควบคุมการขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวมีการดำเนินงานภายใต้ข้อบังคับและระเบียบที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการ
References
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์. (2560). ทำไมประเทศไทยถึงไม่เคยแก้ปัญหารถติดได้เลย. นิตยสาร A day bulletin, 1, 13-15.
นระ คมนามูล. (2547). เทคโนโลยีการขนส่งสาธารณะในเมือง ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
เนตรนภา วรศิลป์. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่แผนกปฏิบัติการสถานีรถไฟฟ้า บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (สารนิพนธ์ปริญญาสังคมเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บูรณจิตร แก้วศรีมล. (2562). รูปแบบการร่วมลงทุนของภาคเอกชนในกิจการของรัฐในกิจการรถไฟฟ้าขนส่งบีทีเอสและเอ็มอาร์ทีที่ส่งผลต่อสิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการและผู้ให้บริการและความคุ้มค่าต่อรัฐ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 102. (2561, 26 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 179 ง. หน้า 11.
ประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงสร้างและการจัดองค์กรอำนาจหน้าที่และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของการรถไฟ พ.ศ. 2542. (2542, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 18ง. หน้า 136.
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562. (2562, 14 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 49ก. หน้า 9.
รินทร ภู่จินดา. (2562). สัมฤทธิผลของการจัดการโครงการขนส่งสาธารณะระบบรางในเขตกรุงเทพมหานคร:ศึกษากรณีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (สารนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
วาริธร โพยมรัตน. (2561). การเปิดรับ ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อสื่อออนไลน์ของรถไฟฟ้า MRT บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). โครงการศึกษาระบบกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางสำหรับประเทศไทย: ค่าโดยสารระบบขนส่งทางราง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). การศึกษากรอบทางการเงินของโครงการะบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุรพล นิติไกรพจน์. (2557). อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการจัดทำบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น