โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การพัฒนาสุขภาวะ, ผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ภาวนา 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปสุขภาวะของผู้สูงอายุ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ และนำเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.992 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 430 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปสุขภาวะของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางปัญญา สุขภาวะทางจิต และสุขภาวะทางกาย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพบว่า การบริหารจัดการ การเสริมสร้างสุขภาพ และหลักภาวนา 4 เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ มีตัวแปรแฝงภายนอก 2 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยการบริหารจัดการ และปัจจัยการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีหลักภาวนา 4 เป็นตัวแปรส่งผ่าน ที่จะส่งผลให้สุขภาวะของผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดียิ่งขึ้น
References
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และวรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22 (1), 81-97.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. RUSAMILAE JOURNAL, 38 (1), 6-28.
นวินดา นิลวรรณ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท สู่สังคมผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7 (3), 38-49.
นิพาวรรณ ไวศยะนันท์. (2560). หลักไตรสิกขากับการส่งเสริมดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนครน่านปริทรรศน์, 1(2), 43-49.
ปรีชญา เทพละออง. (2561). รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมเชิงพุทธสาหรับชมรมผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14, 208-217.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น. วารสารสาธารณสุข, 7 (2), 25-37.
พระภูชิสสะ ปญฺญาปโชโต. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 4 (1), 4963.
พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน). (2558). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแนวพุทธปรัชญา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4 (2), 351-358.
สุรินทร์ นิยมางกูร. (2561). การบริหารจัดการงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7 (2), 21-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น